Breaking NewsStory

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่มีมานาน จนปัจจุบันก็ยังหาข้อยุติไม่ได้

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่มีมานาน จนปัจจุบันก็ยังหาข้อยุติไม่ได้

ประเทศที่อยู่บนผืนแผ่นดิน อันถูกเรียกว่าผืนดินศักดิ์สิทธิ์ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นที่เริ่มต้นของเรื่องราว และศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่บนผืนดินนี้คือ อิสราเอลกับปาเลสไตน์ สองชนชาติที่มีประวัติความเป็นมา รวมถึงเบื้องหลังที่มีมาอย่างยาวนาน ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ถึงพวกเขาจะอยู่ติดกัน แต่ความไม่ลงลอยซึ่งกันและกันของพวกเขาก็ยังคงเกิดขึ้น บ่อยครั้งปัญหาต่างๆ ต้องจบลงด้วยคำว่าสงคราม นานวันเข้า การกระทบกระทั่งกันก็ยังคงมีอยู่ ผ่านการเวลานับวันก็มีแต่จะ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

จนถึงขนาดที่นานาประเทศทั่วโลกจะต้อง ยื่นมือเข้ามาช่วยร่วมไกล่เกลี่ย หาข้อยุติให้แก่ทั้งสองประเทศกันเสมอ หลายครั้งก็สามารถหาหนทางแห่งสันติได้ แต่บ่อยครั้งก็มักจบลงด้วยการสู้รบ จนหลายคนก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า เพราะเหตุใดทำไมอิสราเอลถึงต้องต่อต้านปาเลสไตน์และมุ่งหวังที่จะตอบโต้ปาเลสไตน์เสมอ และเหตุใดกันที่ปาเลสไตน์จะต้องตั้งแง่และพยายามกดดัน รวมถึงกระทำการตอบโต้อย่างรุนแรงกับอิสราเอลตลอด ความขัดแย้งที่มีกันมาอย่างยาวนาน อันจะบอกได้ว่าเป็นการต่อสู้หรือสงครามก็ไม่ปาน ก็ยังคงดำเนินอยู่เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบัน 

ในบทความนี้เราจะขอนำคุณผู้อ่านไปรับทราบและทำความเข้าใจว่า เพราะเหตุใดทำไมอิสราเอลและปาเลสไตน์ถึงต้องทะเลาะกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ 

การทะเลาะและข้อพิพาทต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ มีมาตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบัน สาเหตุนั้น ต้อง

ย้อนกลับไป ก่อนที่จะเกิดประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์ แต่เดิมพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศอยู่ ในยุคนั้น ได้ถูกขึ้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน(ตุรกี) ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแห่งนี้ ส่วนมากจะเป็นชาวอาหรับเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวยิวจะถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ถ้าย้อนกลับไปเป็นสมัยก่อนชาวยิวจะถือว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนที่พวกเขาจะอพยพย้านถิ่นฐานไปยังยุโรป 

จนกระทั่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ผลของสงครามนั้น ทำให้อาณาจักรออตโตมัน ได้พ่ายแพ้ จึงต้องสูญเสียเขตปกครอง ให้แก่เคลือบริเตน(ประเทศอังกฤษ) ในเวลานั้น ดินแดนแห่งนี้จึงแบ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มชาวอาหรับเดิม(ปาเลสไตน์) และ ชาวยิว(อิสราเอล) ในช่วงที่อังกฤษดูแล ทั้ง 2 กลุ่มก็อยู่กันอย่างสงบ จนเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ระเบิดขึ้น 

ในเวลานั้นยุโรปได้เกิดสงครามครั้งใหญ่ และมีชาวยิวจำนวนมากถูกสังหารที่ยุโรป ด้วยฝีมือของฮิตเลอร์ ทำให้มีชาวยิวจำนวนมาก ต่างลี้ภัยหนีตายออกจากยุโรปจำนวนมาก ในช่วงระหว่าปีค.ศ.1920-1940 เป้าหมายของผู้อพยพในเวลานั้น มากกว่าครึ่งต่างพุ่งเป้ากลับมายังดินแดนแห่งพันธสัญญานี้ เพราะทราบมาว่ามีเมืองที่เป็นของชาวยิวอยู่ เมื่อมาถึงพวกเขาได้ตั้งรกราก และบ่อยครั้งพวกเขามักจะมีปัญหากับชาวอาหรับ หรือ ก็คือชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ที่ตั้งข้อกังขาว่า ชาวยิวที่อพยพเข้ามาต่างรุกล้ำดินแดนของตน ส่วนชาวยิวที่เข้ามาก็ได้อ้างถึงว่าผืนดินนี้เป็นสถานที่ที่บรรพบุรุษของตนอยู่มาก่อนแล้ว ถึงจะมีเรื่องให้ต้องกระทบกระทั่งกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่บานปลายจนเกิดเป็นความรุนแรง ชาวยิวที่ย้ายมาจากยุโรป ส่วนหนึ่งที่เป็นพ่อค้าวาณิชย์ ก็ได้ใช้เงินหรือสมบัติที่ตนนำติดตัวมาด้วยตอนหนีมาจากยุโรป เข้าซื้อที่ดินของชาวปาเลสไตน์กลุ่มหนึ่ง เพื่อตัดปัญหาเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน ทำให้เรื่องความขัดแย้งได้สงบลงไป

จนกระทั่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้มีกลุ่มชาวยิว กลุ่มหนึ่งได้รวมตัวขึ้นและเห็นถึงปัญหา ที่พวกเขาล้วนเผชิญ พวกเขาเหล่านี้จำนวนมาก ต่างเป็นผู้ที่สามารถหนีรอดออกมาจากยุโรปได้ ภาพความโหดร้ายและการเอาชีวิตรอดของพวกเขา ยังคงตราตรึงลงไปในความทรงจำ และพวกเขาจำนวนมากต่างเห็นพ้องกันแล้วว่า ถึงเวลาที่ชาวยิวจะต้องเปลี่ยนแปลง เหตุผลที่พวกเขาเกือบที่จะถูกสังหารจนสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ ส่วนหนึ่งมาจากความอ่อนแอของพวกเขาแต่สิ่งทีาเป็นเหตุให้พวกเขาอ่อนแอ ส่วนหนึ่งที่พวกเขาคิด มาจากรูปแบบการปกครองและศาสนาที่ค่อนข้างจะโบราณและสันติเกินไป ไม่เหมาะกับโลกและยุคในปัจจุบัน 

ชาวยิวหัวสมัยใหม่ จึงเริ่มสร้างหลักความคิดและปรับปรุงนำหลักคำสอนเดิมมาเปลี่ยนใหม่ และเรียกตัวเองว่า ไซออนิสต์ หรือก็คือ บุคคลที่เปรียบด้วยอุดมการณ์ และความเป็นชาตินิยม ปราถนาการก่อตั้งรัฐหรือประเทศขึ้นมา พวกเขาเป็นตัวตั้งตัวตี ในการสร้างชาติ ประเทศของพวกเขาขึ้นมา นานวันเข้าหลักความคิด ของพวกเขาก็แพร่หลายไปเป็นวงกว้าง ชาวยิวหัวสมัยใหม่ เหล่าหนุ่มสาว ต่างเห็นพ้องและเข้าร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มไซออนิสต์ พวกเขาเหล่านี้ต่างปราถนาในการสร้างชาติที่ชื่อว่า อิสราเอล 

เมื่อข่าวเรื่องนี้เริ่มออกไป ก็สร้างความไม่พอใจต่อกลุ่มชาวปาเลสไตน์เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาคิดว่าชาวยิวเป็นเพียงแค่ผู้มาอาศัย ไม่มีสิทธิที่จะนำแผ่นดินของชาวอาหรับ ไปสร้างเป็นประเทศของตน แต่ชาวยิวจำนวนหนึ่งก็ได้อ้างว่า พวกเขามีสิทธิเพราะแต่เดิมแผ่นดินนี้ก็เป็นของบรรพบุรุษของพวกเขา และที่ดินจำนวนหนึ่งเขาก็ได้ซื้อมาอย่างถูกต้องจากเจ้าของที่ดินชาวปาเลสไตน์ เพราะฉะนั้นแล้วพวกเขาจึงมีสิทธิโดยชอบธรรม หลังจากนั้น การทะเลาะกันระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ก็เริ่มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

พอมาถึงในปี ค.ศ.1947 ความรุนแรงของทั้งสองชาติก็เริ่มมีทีท่าจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จนประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วย เจรจาหาข้อยุติ และนำเรื่องเข้าสู่สหประชาชาติ จนได้ข้อสรุป ให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เก่า ออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน ส่วนหนึ่งมอบให้แก่ชาวยิว อีกส่วนให้กับชาวปาเลสไตน์ และให้ยึดเมืองเยรูซาเรมเป็นเมืองที่ไม่ขึ้นกับใคร เป็นเมืองที่ทั้งสองชาติมีสิทธิเท่ากัน อิราเอลเห็นชอบและตกลงที่จะยึดตามข้อตกลงนี้ แต่ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากกับไม่เห็นด้วยที่ทำไม พวกเขาจะต้องแบ่งแผ่นดิน อีกทั้งส่วนที่แบ่ง อิสราเอลจะได้พื้นที่มากกว่า ร้อยละ 56 ซึ่งมากเกินกว่าที่พวกเขาควรได้รับ ความที่ตัวเองรู้สึกเสียเปรียบ ปาเลสไตน์จึงไม่ยอมตกลงในข้อตกลงนี้ อีกทั้งชาติอาหรับอีกจำนวนหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้เช่นกัน เพราะเห็นถึงความไม่เป็นธรรม 

ชาติอาหรับที่ในเวลานั้นไม่เห็นด้วย มีจอร์แดนและอียิปต์ 

กระแสความรุนแรงก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ในปีค.ศ. 1948 ด้วยการนำของอังกฤษ ชาวยิวก็ได้สถาปณาและก่อตั้งประเทศของพวกเขาได้ในที่สุด และประกาศว่าต่อจากนี้ดินแดนนี้ จะเป็นประเทศอิสราเอล การประกาศสร้างความไม่พอใจของชาวอาหรับจำนวนมาก โดยเฉพาะปาเลสไตน์ พวกเขาจึงตัดสินใจโจมตีอิสราเอล และในการโจมตีนี้ ก็ได้รับแรงสนับสนุน จากประเทศจอร์แดนและอียิปต์ 

ในเวลาต่อมา ซีเรียก็เข้าร่วมด้วย การต่อสู้กินเวลาไปหลายปี และจบลงในปี ค.ศ 1950 ด้วยการเซ็นสัญญาสงบศึก โดยที่จอร์แดนจะเข้ามาควบคุมบริหารเขตเวสต์แบงค์ และอียิปต์จะเข้าควบคุมฉนวนกาซา ส่วนอิสราเอลจะได้ปกครองดินแดนบางส่วนของปาเลสไตน์ และแบ่งเยรูซาเลมออกเป็นสอง กองทัพอิสราเอลจะเข้าดูแลส่วนเยรูซาเลมตะวันตก ส่วนทางตะวันออกกองกำลังจอร์แดนจะรับหน้าที่ดูแล ข้อตกลงนี้ก็ได้ใช้ดำเนินการเรื่อยมา แต่ถึงจะมีข้อตกลง ก็ยังไม่สามารถช่วยให้ข้อพิพาทต่างๆ ได้รับการแก้ไขได้ พวกเขายังตั้งแง่ และทะเลาะกันอยู่เสมอ บ่อยครั้งมีการปะทะกัน แต่ก็ยังไม่ถือว่ารุนแรงมากนัก 

จนกระทั่ง ปีค.ศ. 1967 สงครามครั้งใหญ่ของโลกอาหรับก็ได้เกิดขึ้น หรือที่ทุกคนเรียกว่า สงคราม 6 วัน (Six Day War) ที่ทุกประเทศในโลกอาหรับ ต่างพุ่งเป้าเข้าโจมตีอิสราเอลอย่างพร้อมกัน ในเวลานั้นอิสราเอลได้ตั้งรับและสู้แบบหลังชนฝา จนสามารถเอาชนะได้ในที่สุด ส่วนหนึ่งที่ทำให้อิสราเอลชนะ เพราะพวกเขาไม่มีที่ให้หนีอีกต่อไป ถ้าสงครามครั้งนี้พวกเขาพ่ายแพ้ พวกเขาก็จะไม่มีแผ่นดินอยู่ จึงทำให้พวกเขาต้องใช้ทุกวิธีทางจนสามารถเอาชนะได้ในที่สุด(ส่วนหนึ่งก็ได้รับการสนับสนุน จากอังกฤษและสหรัฐ) 

เมื่อจบลง อิสราเอลสามารถยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ไว้ได้ และในเวลาต่อมา อิสราเอลก็ได้ประกาศให้เมืองเยรูซาเลม คือเมืองหลวงของตน และนำประชาชนของตนเข้ามาอยู่ การกระทำนี้ทำให้ครอบครัวชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก จำเป็นจะต้องย้ายออกไป ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่พวกเขา ในเวลาต่อมาชาวปาเลสไตน์จึงได้ร้องขอให้มีการตัดสินเรื่องข้อพิพาทการแบ่งเขตการปกครอง และการที่อิสราเอลเข้ายึดครอง แต่ข้อร้องเรียนก็ไม่มีผล ถึงแม้ว่าในภายหลังจะได้มีการร้องขอให้อิสราเอล ยกเลิกการยึดครองพื้นที่เหล่านี้ แต่อิสราเอลก็ปฎิเสธ พร้อมให้เหตุผลว่า พวกเขาต้องทำเพื่อความปลอดภัยของประชาชนชาวอิสราเอล 

ถึงแม้ในภายหลังรัฐบาลของปาเลสไตน์จะร้องขอและยอมรับในสัญญาเดิมที่ อิสราเอลเคยตกลงยอมรับไว้ แต่ในเวลานี้อิสราเอลกับปฎิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงฉบับเดิม เพราะพวกเขาไม่เห็นถึงความสำคัญในข้อตกลงฉบับนี้อีกแล้ว เมื่อแผนการทวงคืนแผ่นดินของชาวปาเลสไตน์ เริ่มจะล้มเหลว พังไม่เป็นท่า จึงทำให้ประชาชนชาวปาเลสไตน์ เริ่มที่หมดหวังในตัวรัฐบาลของพวกเขา 

ในเวลาต่อมา จึงได้เกิดกลุ่มอำนาจหนึ่งขึ้นมาใหม่ในปาเลสไตน์ พวกเขาใช้ชื่อกลุ่มว่า ฮามาส โดยอุดมการณ์ของกลุ่มนี้คือปลดปล่อยชาวปาเลสไตน์ และนำดินแดนของพวกเขาคืนมาจากอิสราเอล ในทีแรกปาเลสไตน์มีกลุ่มเคลื่อนไหวคือ PLO ที่คอยเคลื่อนไหวและสู้รบกับพวกอิสราเอล แต่หลังจากสงคราม 6 วัน จุดมุ่งหวังของกลุ่มนี้ก็เริ่มเปลี่ยน กลายเป็นกลุ่มที่หวังจะเจรจาสันติ และพยายามจะหาข้อตกลง โดยการที่จะยอมรับข้อเสนอของอิสราเอล ถึงจะดูเสียเปรียบ แต่สำหรับพวกเขาก็ได้ข้อสรุปว่า จะดีกว่าถ้าเรายังเหลือแผนดินให้ลูกหลานได้อยู่ ซึ่งความอ่อนข้อให้กับอิสราเอลของกลุ่ม PLO นี่สร้างความผิดหวังให้กับชาวปาเลสไตน์ในเวลานั้นเป็นอย่างมาก ทุกคนจึงหันมาให้การสนับสนุน ฮามาส เพราะเชื่อว่า ฮามาสจะนำพาชัยชนะมาสู่พวกเขาได้ 

ด้วยการสนับสนุนจากประชนเป็นจำนวนมาก ในที่สุด ฮามาส ก็ได้ขึ้นเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีอำนาจอย่างสูงในปาเลสไตน์ เปรียบเหมือนรัฐบาลในเวลานั้น โดยจุดมุ่งหมายของกลุ่มยังเหมือนเดิมคือการทวงคืนแผ่นดินบ้านเกิดคืน พวกเขาจึงใช้วิธีที่ค่อนข้างรุนแรง พยายามตอบโต้อิสราเอลอย่างรุนแรงมาตลอด และอิสราเอลเอง ก็ไม่คิดจะอ่อนข้อ ให้แก่กลุ่มฮามาส การสู้รบต่างๆ จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

จนถึงขนาดที่สหประชาชาติ เคยที่จะยื่นมือเข้ามาช่วย เพื่อหาข้อสรุปและทำให้เกิดการเจรจาสันติภาพ แต่ก็ไร้ผลเรื่อยมา การต่อสู้และการประทะกัน ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง นานกว่าหลายทศวรรต ก็ยังไม่สามารถที่จะหาข้อยุติลงได้ จะเห็นแต่เพียงความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งประชาชนชาวปาเลสไตน์เอง และประชาชนชาวอิสราเอล ก็ล้วนแล้วแต่สูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น

ถึงแม้เวลาจะผ่านมานับตั้งแต่การปะทะกันครั้งแรกมากว่า 50 ปี 

ปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่สามารถนำพาความสงบมาสู่ดินแดนศักสิทธิ์นี่ได้ หลายคนก็ต่างหวัง ว่าคงมีสักวันที่การสู้รบนี้จะหายไปจากดินแดนนี้เสียที จะคงเหลือแต่เพียงความเข้าใจกัน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่เข้ามาแทนที่ในดินแดนแห่งนี้ เพราะเราคือมนุษย์เหมือนกัน เกิดและโต อาศัยอยู่ใต้ฟ้าผืนเดียวกัน ก็ไม่ควรที่จะต้องรบรา ฆ่าฟันกันอีกเลย เพราะ “ความตายไม่เคยงดงาม สงครามไม่เคยทรงเกียรติ” ฉะนั้นแล้ว พวกเราทุกคนต้องช่วยกันเรียกร้องและให้สงครามยุติลง หรือ ไม่ควรเกิดขึ้นเลยจะดีที่สุด มันรู้สึกเจ็บปวดมากเลยนะ กับภาพที่ต้องเห็นคนที่สูญเสียครอบครัว เด็กที่ต้องกำพร้า น้ำตาของพวกเขาที่ไหลออกมา มันไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย ถ้าทุกคนหันหน้าเข้าหากันลดทิฐิและความบาดหมาง ความแค้นที่มีต่อกัน โลกก็คงจะน่าอยู่มากกว่านี้……

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่มีมานาน จนปัจจุบันก็ยังหาข้อยุติไม่ได้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending

What's your reaction?

Excited
0
Happy
1
In Love
2
Not Sure
0
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย
Breaking News

ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย

สาวกพลังใบยิ้มออกแล้ว เมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศ "ปลดล็อกกัญชา" ออกจากยาเสพติดในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่ได้รับการปลดล็อก เนื่องจากว่าสรรพคุณของกัญชาให้ประโยชน์อย่างมากมาย
Breaking News

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2565 มีสาระสำคัญในเรื่องใดบ้าง