Story

ย้อนรอยประวัติศาสตร์กับอดีตที่แสนเจ็บปวด ของสิ่งที่เรียกว่า “ระเบิดแห่งสันติภาพ”

ย้อนรอยประวัติศาสตร์กับอดีตที่แสนเจ็บปวด ของสิ่งที่เรียกว่า “ระเบิดแห่งสันติภาพ”

ทุกวันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปีนั้น สำหรับใครหลายคนคงจะมีความหมายที่แตกต่างกัน บ้างก็เป็นวันที่พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิต เปิดกิจการ ธุรกิจเติบโต หรือแม้แต่ วันเกิด แต่สำหรับคนญี่ปุ่นนั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม ของทุกปี คือวันที่พวกเขาสูญเสียมากที่สุด เป็นโศกนาฏกรรมที่ค่อนข้างยากที่จะลืมเลือน เปรียบเสมือนฝันร้ายในยุคหนึ่งที่ผ่านมา เหตุการณ์วิปโยคครั้งนั้นคือ “การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า”

การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า เป็นชื่อของแผนการรบหนึ่งในภารกิจ โครงการ “แมนฮัทตัน” ที่ถูกคิดค้นด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ของกองทัพสหรัฐฯ โดยคนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า การสร้างระเบิดปรมาณูขึ้นมาได้นั้น เป็นผลงาน จากการใช้สูตรสมการของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein)  นักวิทยาศาสตร์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลก 

แต่ความเชื่อนี้มีส่วนที่ถูกเพียงนิดเดียวเท่านั้น แท้จริงแล้ว ระเบิดปรมาณู หรือ นิวเครียร์ ถูกสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ที่หนีภัยสงครามที่ยุโรปมาสหรัฐฯ พวกเขาทั้งสองมีชื่อว่า ออทโท ฮาน (Otto Hahn) กับ ฟริตซ์ ชตราสมันน์ (Fritz Strassmann) นักวิทย์ฟิสิกส์เคมี 

ออทโท ฮาน (Otto Hahn) กับ ฟริตซ์ ชตราสมันน์ (Fritz Strassmann) นักวิทย์ฟิสิกส์เคมี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว

พวกเขาทั้งคู่ได้เสนอให้ ไอน์สไตน์ ช่วยเป็นสื่อกลางติดต่อกับรัฐบาล เพื่อให้พวกเขาได้เริ่มการสร้างระเบิดปรมาณู เพราะพวกเขามีความคิดว่า ควรที่จะรีบสร้างและใช้มันเพื่อยุติสงคราม ก่อนที่นักวิทย์ชาวเยอรมันจะสามารถสร้างได้ก่อน ซึ่งการโน้มน้าวนี้ ทำให้ไอน์สไตน์ใจอ่อน ยอมเขียนจดหมายเสนอไปยังคนระดับสูงของรัฐบาลในยุคนั้น 

ด้วยชื่อเสียงของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงทำให้ไม่นาน ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ ได้เซ็นอนุมัติให้นักวิทย์ทั้งสอง ที่ไอน์สไตน์เสนอ เริ่มทำงานนี้ได้เลย จึงเกิดเป็นโครงการแมนฮัทตันขึ้นมา พวกเขาทั้งสอง ทุ่มเทให้กับการวิจัย จนในที่สุดก็สามารถแยกอนุภาคนิวเคลียสหรือฟิชชัน ขึ้นมาได้สำเร็จ ด้วยแร่ยูเรเนียม

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กับ ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์

การทดลองเกิดขึ้นครั้งแรก ที่ทะเลทรายในแม็กซิโก ผลการระเบิดสร้างความประทับใจให้แก่กองทัพสหรัฐฯเป็นอย่างมาก พวกเขาได้เร่งให้ผลิตและจะนำมันมาใช้เพื่อปิดฉากสงครามในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายแรกเลยคือการทิ้งระเบิดที่เบอร์ลินประเทศเยอรมัน แต่ก็ถูกคัดค้านด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคน พวกเขาให้เหตุผลว่า เยอรมันในตอนนี้กำลังเสียเปรียบอย่างหนัก พวกเขาถูกรุกอย่างหนักทั้งจากกองทัพแดง(สหภาพโซเวียต) และ กองทัพสัมพันธมิตร จึงไม่เห็นว่าควรจะทิ้งเพื่อทำลายเมืองในตอนนี้ เพราะยังไงเสีย เยอรมันก็ต้องพ่ายแพ้อยู่ดี 

อีกทั้งเมื่อเยอรมันแพ้แล้ว ประเทศในยุโรปทั้งหมดต้องเร่งฟื้นตัวจากสงคราม เยอรมันเองเป็นประเทศที่พร้อมด้วยทรัพยากรและวิทยาการ เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูยุโรป อีกข้อหนึ่งที่สำคัญในการคัดค้านทิ้งปรมาณูใส่เยอรมัน คือ ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่า อนุภาพความรุนแรงของระเบิดปรมาณูจะเหมือนกับที่ทดลองที่ทะเลทรายแม็กซิโกจริงหรือไม่ เพราะถ้ามันรุนแรงมากกว่า ประเทศอื่นในยุโรปจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย 

ความซวยจึงมาตกที่ญี่ปุ่น เพราะประเทศญี่ปุ่นมีภูมิประเทศเป็นเกาะ ถ้าความรุนแรงของระเบิดมีมากกว่าที่คาด ความเสียหายก็จะจำกัดเพียงเกาะเท่านั้น ไม่มีประเทศอื่นจะได้รับความเดือดร้อนไปด้วย และชาวญี่ปุ่นเองถือว่าเป็นนักสู้ พวกเขาไม่กลัวตาย สงครามกับญี่ปุ่นจะต้องรุนแรงและยืดเยื้อ ถ้าปล่อยไปนาน ก่อนที่กองกำลังพันธมิตรจะชนะ จะต้องสูญเสียกำลังพลและทรัพยากรอีกมากเป็นแน่ ที่ประชุมจึงลงมติเห็นพ้องต้องกัน ให้ใช้ระเบิดปรมาณู หรือ นิวเคลียร์ นี้แก่ ประเทศญี่ปุ่นในทันที!! ภารกิจการทิ้งระเบิดปรมาณูใส่ประเทศญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้น

การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ

The Little Boy หรือ เจ้าหนูน้อย คือชื่อของระเบิดปรมาณูที่จะใช้ในภารกิจทิ้งระเบิดครั้งนี้ โดยเป้าหมายในทีแรก ทางด้านกองทัพเล็งเห็นว่า ควรที่จะทิ้งระเบิดใส่เมืองใหญ่ของญี่ปุ่น ที่เป็นฐานบัญชาการของกองทัพและเมืองเศรษฐกิจหลักที่เปรียบกับหัวใจของญี่ปุ่น เพื่อช่วยกดดันให้ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามได้ไวขึ้น โดยมีการเสนอชื่อคือ เมืองเกียวโต เมืองนาโกยาโม่ และ เมืองฮิโรชิม่า สามเมืองตัวเลือกแรกของกองทัพ 

หลังจากประชุมกันอยู่ซักพัก ก็ได้ข้อสรุปให้ทิ้งระเบิดใส่เมืองฮิโรชิม่า เพราะเป็นเมืองเศรษฐกิจและยังเป็นเมืองที่ผลิตอาวุธให้แก่กองทัพ อีกทั้งยังอยู่ติดกับทะเล ซึ่งง่ายต่อการเข้าโจมตีและมีความเสี่ยงน้อยกว่า ภารกิจครั้งนี้ จึงได้เริ่มไฟเขียว ให้เริ่มปฎิบัติการณ์ได้ทันที 

ในเช้ามืดของวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ณ ที่ตั้งกองพัน 509 แห่งกองทัพสหรัฐฯ พันโทพอล ทิบเบตส์ (Lt.Col.Paul Tibbets) ได้รับคำสั่งให้นำฝูงบินB-29 จำนวน 7 ลำ ออกทำภารกิจในครั้งนี้ มันดูเหมือนภารกิจในการทิ้งระเบิดปกติทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ครั้งนี้ พวกเขาต้องนำระเบิดชนิดพิเศษที่ทางรัฐบาลส่งมาให้ มีชื่อเรียกในภารกิจว่า Little Boy หรือ เจ้าหนูน้อย เป็นระเบิดที่มีลักษณะใหญ่ มีความยาว 3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 71 เซนติเมตร และน้ำหนัก 4,000 กิโลกรัม ภายในบรรจุธาตุยูเรเนียมประมาณ 64 กิโลกรัม 

ในภารกิจนี้ ผู้พันทิบเบตส์ จะต้องนำเจ้าหนูน้อยไปทิ้งยังฮิโรชิม่า โดยที่เขาจะต้องใช้เครื่องบิน 3 ลำ ในการตรวจสอบเป้าหมายและสภาพอากาศ เพื่อที่จะได้ใช้เครื่องบินของเขาในการทิ้งระเบิดเพื่อไม่ให้พลาดเป้า อีกทั้งในการทิ้ง ทางเบื้องบนได้กำชับทุกคน เมื่อ Little Boy ลงสู่เป้าหมายแล้ว ให้หยิบแว่นตาชนิดพิเศษที่แจกให้ ขึ้นมาส่วมใส่ทันที และเก็บข้อมูลของผลลัพธ์กลับมาด้วย ก็เป็นอันเสร็จสิ้นภารกิจ

พันโทพอล ทิบเบตส์ และ ลูกทีมของเขา

วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 ภารกิจการทิ้งระเบิดปรมาณู Little Boy ได้เริ่มขึ้น

  • 02.45 น.           เริ่มภารกิจ ผู้พันทิบเบตส์ นำเครื่องบินทิ้งระเบิดB-29 ที่มีชื่อว่า “เอโนลา เกร” (Enola Gay) ขึ้นบินจาก เกาะติเตียน มุ่งหน้าสู่ประเทศญี่ปุ่น 
  • 03.00 น.            ทีมช่างเริ่มประกอบส่วนต่าง ๆ ของ Little Boy หรือ เจ้าหนูน้อย เข้าด้วยกัน
  • 03.15 น.            การประกอบ Little Boy เสร็จสมบูรณ์
  • 07.30 น.            ทีมช่างเคลื่อนที่ Little Boy เข้าประจำตำแหน่งสลัก เพื่อรอการทิ้งลงสู่เป้าหมาย
  • 07.41 น.            ผู้พันทิบเบตส์นำเครื่องบินไต่เพดานบินสู่ระดับสูง เครื่องบินล่วงหน้าสามเครื่องแจ้งว่า
  •                         ทัศนะวิสัยเหนือเมืองฮิโรชิมาค่อนข้างดีมาก
  • 08.38 น.            เครื่องบินไต่ขึ้นสู่ระดับ 32,700 ฟุต
  • 08.44 น             ทีมช่างทดสอบวงจร Little Boy เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะแจ้งไปยังผู้พันให้ลดระดับเพดานบินเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย
  • 09.09 น.            มองเห็นที่ตั้งของเมืองฮิโรชิมาอยู่เบื้องล่าง
  • 09.15 น.            “Little Boy” ถูกปล่อยลงไปยังเป้าหมาย

หลังจากปล่อย Little Boy ลงสู่เมืองฮิโรชิม่าแล้ว ผู้พันทิบเบตส์ได้นำเครื่องไตเพดานขึ้นไปอยู่ที่ระดับความสูง 600 เมตร เหนือเมืองฮิโรชิม่า และกำชับให้ทุกคนใส่แว่นตาสีดำพิเศษในทันที พร้อมทั้งรอดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เมื่อLittle Boy ลงสู่พื้นดิน ความรุนแรงของมันได้ปะทุขึ้น กลายเป็นกลุ่มเพลิงที่แผ่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง เผาพลาญทุกสิ่งทุกอย่างจนราบเป็นหน้ากอง 

ผู้พันทิบเบตส์ ได้รายงานบรรยายผ่านวิทยุและเครื่องบันทึกเสียงว่า “เราเห็นกลุ่มควันขนาดใหญ่ ลอยขึ้นเหนือซากปรักหักพัง พวยพุ่งขึ้นมาเหมือนเห็ด ด้านล่างของกลุ่มควันนั้นคือซากของเมืองฮิโรชิมา”  ก่อนที่ทั้งหมดจะนำเครื่องบินกลับฐานที่เกาะติเตียนตามเดิม

หลังจากเหตุกาณ์ทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่าผ่านไป ทางด้านกองทัพสหรัฐฯ ได้พยายามติดตามข่าวสารและรอคอยการประกาศยอมแพ้จากจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ก็เงียบหายมีเพียงการดักฟัง คลื่นวิทยุข่าวท้องถิ่น ที่ประกาศว่า เมื่อเช้าวันที่ 6 ส.ค. มีการทิ้งระเบิดใส่เมืองฮิโรชิม่า เป็นเพียงระเบิดไฟทั่วไป ความเสียหายของเมืองแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การได้รับฟังข่าวสารนี้ ก็ยืนยันได้ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้คิดจะยอมแพ้ ทำให้การโจมตีระลอกที่ 2 เกิดขึ้น 

ในวันที่ 9 สิงหาคม ได้มีการนำเอาระเบิดปรมาณูลูกที่สอง ที่มีชื่อว่า Fat Man หรือ เจ้าอ้วน นำมาใช้ในภารกิจนี้ ในทีแรกพวกเขามีจุดหมายอยู่ที่เมืองตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยทัศนิวิสัย และ การป้องกัน จึงทำให้ภารกิจการทิ้งระเบิดนี้ เปลี่ยนเป้าหมายเป็นเมือง นางาซากิแทน หลังจากระเบิดที่เมืองนางาซากิแล้ว ไม่นานในวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข สงครามโลกในเอเชียก็ยุติลงนับแต่นั้น

ผลจากการทิ้งระเบิดปรมาณู หรือ นิวเคลียร์

ผลจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า ได้ฆ่าชีวิตของประชาชนไปมากกว่า 140,000 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน อีกทั้งยอดผู้เสียชีวิต อาจจะสูงมากขึ้นกว่านี้ เพราะผู้บาดเจ็บและรอดมาได้นั้น ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากกากรังสีของปรมาณู ทำให้เป็นมะเร็งและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ส่วนทางด้านเมืองนางาซากิ ก็สูญเสียชีวิตประชากรไปกว่า 80,000คน การสูญเสียชีวิต และ เมืองที่อยู่อาศัย สร้างบาดแผลในใจให้แก่คนญี่ปุ่นจำนวนมาก ทั้งเด็กที่ต้องกำพร้า ครอบครัวที่ต้องสูญเสีย และ ผู้คนที่รอดมาได้ ก็เป็นโรคร้ายแรงที่สามารถสืบทอดต่อกันได้ทางพันธุกรรม ในภายหลังพวกเขาจึงถูกรัฐบาลจับทำหมันเพื่อป้องกันไม่ให้ถ่ายทอดโรคร้ายทางพันธุกรรมไปสู่บุตร 

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าที่สะเทือนใจเกี่ยวกับ เด็กผู้หญิงที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายจากระเบิดปรมาณู ชื่อของเด็กหญิงคนนี้คือ  ซาดาโกะ  ซาซากิ เธอเป็นเด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่ปรารถนาการมีชีวิตอยู่ เธอถูกตรวจว่าติดโรคจากรังสี เมื่อตอนอายุ 2 ขวบ จึงทำให้เธอต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมาณ เข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น จนเมื่อเธออายุย่างเข้า 10 ขวบ อาการของโรคก็ดูจะรุนแรงขึ้น ทำให้เธอต้องมาพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล 

ซาดาโกะ  ซาซากิ (Sadako Sasaki)

ซาดาโกะ เป็นเด็กผู้หญิงที่มีนิสัยโอบอ้อม อารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เธอจึงมักจะเป็นที่รักของกลุ่มเพื่อน ๆ จึงทำให้มีเพื่อนแวะเวียนมาเยี่ยมเธอเสมอ หนึ่งในความเชื่อที่ซาดาโกะเชื่อ มาจากเรื่องเล่าของตำนานนกกระเรียนพันตัว ที่กล่าวว่า ถ้าสามารถพับนกกระเรียนได้ครบ 1000 ตัว เมื่อไหร่ จะสามารถทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงขึ้นเหมือนเดิมได้ ซาดาโกะจึงเริ่มพับนกกระเรียนกระดาษมานับแต่นั้น 

เธอพับนกกระดาษ พร้อมทั้งตั้งความหวังในการมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ซาดาโกะก็พับไปได้ทั้งหมด 644 ตัว ก่อนที่เธอจะจากไปในวันที่25  ตุลาคม ค.ศ.1955 ในขณะที่เธอมีอายุเพียง 12 ขวบเท่านั้น การจากไปของเธอสร้างความเสียใจ ให้แก่ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนฝูงของเธอเป็นอย่างมาก ไม่นานพวกเพื่อน ๆ ก็ช่วยกันพับนกกระเรียนเพิ่มอีก 356 ตัว จนครบหนึ่งพัน และฝังนกเหล่านั้นไปพร้อมกับเธอ 

ซาดาโกะ และ บรรดาเพื่อน ๆ ของเธอ

หลังจากพิธีฝังศพของเธอผ่านไป  กลุ่มเพื่อนของเธอก็ได้รวบรวมจดหมายของซาดาโกะ  และบันทึกของเธอมาพิมพ์เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง  โดยตั้งชื่อว่า “โคเคชิ”  ตามชื่อตุ๊กตาไม้ที่พวกเขาได้ให้ซาดาโกะ  ตอนที่เธอป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล  หนังสือเล่มนี้ถูกส่งไปทั่วญี่ปุ่น และในไม่ช้า  ทุกคนก็รู้เรื่องของ ซาดาโกะ กับนกกระเรียนพันตัวของเธอไปทั่ว 

ในภายหลัง กลุ่มเพื่อน ๆ ของซาดาโกะจึงได้ร่วมกันบริจาคเงิน เพื่อร่วมกันสร้างรูปปั้นของซาดาโกะขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ และเตือนใจถึงผลกระทบจากระเบิดปรมาณู การรวบรวมเงินนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเยาวชนทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ได้อ่านเรื่องราวของเธอ พวกเขาได้รวบรวมเงินกัน

จนในปี ค.ศ. 1958 รูปปั้นก็ถูกเปิดผ้าคลุมออกในสวนสันติภาพฮิโรชิมา  เป็นรูปปั้นซาดาโกะ ยืนอยู่บนภูผาสวรรค์  สร้างด้วยหินแกรนิต  กำลังถือนกกระเรียนสีทองอยู่ในอุ้งมือที่เหยียดชูขึ้น เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ และ การสะท้อนถึงภัยที่มาจากระเบิดปรมาณู อีกทั้ง นกกระเรียนที่ซาดาโกะพับก็กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สันติภาพ

ทุกวันที่ 6 สิงหาคมของทุกปี จะมีนกกระเรียนจำนวนมากส่งมายังที่แห่งนี้ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นเอง และรวมถึงต่างประเทศทั่วโลก ที่ได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของเธอก็ต่างส่งนกกระเรียนมาด้วยเช่นกัน พร้อมทั้งคำอธิษฐาน ที่สลักไว้ที่รูปปั้นและเขียนลงบนนกกระเรียนว่า 

“นี่คือคำร้องของเรา นี่คือคำอธิษฐานของเรา ขอสันติภาพจงบังเกิดแก่โลกด้วยเถิด.”

ปัจจุบันเมืองฮิโรชิม่า ได้ฟื้นคืนขึ้นมาจากวิกฤตครั้งนั้น จนกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของประเทศญี่ปุ่น ที่เปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกปีละหลายล้านคน ซึ่งนับเวลาจนมาถึงปัจจุบันนี้ก็กว่า 76 ปีแล้วที่เกิดเหตุการณ์ครั้งนั้น ภาพความทรงจำ และ ความสูญเสียก็ยังไม่เคยจางหายไปไหน ถึงแม้เมืองจะได้รับการฟื้นฟู จนสวยเหมือนเมื่อก่อนแล้วก็ตาม 

แต่เมื่ออดีตไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ อนาคตคือคำตอบที่จะต้องเดินหน้าต่อไป การสร้างสันติภาพขึ้นมาทั่วโลกเป็นสิ่งที่พวกเราควรทำ ถอดบทเรียนจากอดีต ถ้าพวกเราอยู่กันด้วยสันติ สงครามก็จะไม่มี และเด็กผู้หญิงแบบซาดาโกะก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นอีกเลย….#วันที่ 6 สิงหาคม #ย้อนรอยประวัติศาสตร์กับอดีตที่แสนเจ็บปวด ของสิ่งที่เรียกว่า “ระเบิดแห่งสันติภาพ”

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun

What's your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
1
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

More in:Story

Story

เปิดประวัตินิทานของ “อีสป” ต้นตำรับนิทานคติสอนใจผู้เป็นตำนานของโลกแห่งนิทาน

นิทานของอีสปเป็นนิทานที่ถูกแต่งขึ้นโดยทาสชาวกรีกที่มีขื่อว่า อีสป (Aesop) ที่นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าเขานั้นน่าจะเกิดอยู่ในช่วง 620 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นทาสโดยกำเนิดตามกฏหมายของชาวกรีก
Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
Story

คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่ 84

ผมและไอ้แว่นได้ลงมาตั้งแถวรอเยี่ยมญาติอยู่หน้าองค์พระประจำแดน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวสำหรับพวกที่มีชื่อเยี่ยมญาติในแต่ละรอบ ผมสังเกตเห็นไอ้แว่นมันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนอยากจะถามอะไรผม แต่มันก็ยังไม่กล้าเอ่ยปากถามสักที