Story

พม่าเสียกรุง (จุด..เริ่มต้นของกษัตริย์องค์สุดท้าย)

พม่าเสียกรุง (จุด..เริ่มต้นของกษัตริย์องค์สุดท้าย)

ราชธานีอันยิ่งใหญ่ ตั้งแต่สมัยอดีต ที่รุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง หรือ ผู้ชนะสิบทิศ ที่คนไทยหลายคนรู้จัก ผู้ซึ่งทำให้กรุงศรีอยุธยาราชธานีเก่าของเรา ต้องตกเป็นเมืองขึ้นครั้งแรก กษัตริย์ผู้มากล้นไปด้วยสติปัญญาและความสามารถ อาจจะเทียบได้กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของบ้านเรา และเราต้องตกเป็นเมืองขึ้น ถึง 2ครั้ง 2คราว ในเวลาที่ห่างจากกันกว่า 200 ปี 

ครานั้นกรุงศรีอยุธยาเริ่มถดถอยไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนแต่ก่อน หลังจากการว่างเว้นศึกเป็นเวลานาน ทำให้พวกเราหลงลืมไปว่า มีศัตรูตัวฉกาจที่เฝ้ารอเวลาที่บ้านเมืองเราอ่อนแอ ทหารหลงลืมหน้าที่ ที่ควรปฏิบัติของตน ต่างคนก็ต่างโกงกินตักตวงหาผลประโยชน์ใส่ตัวเอง ไม่สนใจบ้านเมือง จนบ้านเมืองฉิบหายวายวอด คนดีไม่มีที่อยู่ คนชั่วกับครองเมือง 

จนในที่สุด กรุงศรีอยุธยาราชธานีแต่เดิมของเรา ที่เหล่ากษัตริ์ยองค์ก่อนต่างปกป้องรักษาไว้ด้วยความเป็นชาติไทย และวีระชนคนกล้า ทหารแม่ทัพนายกองทั้งหลาย เป็นหมื่นเป็นแสนชีวิต ต่างสละเลือดเนื้อชีวิต เพื่อปกป้องความเป็นเอกราชของประเทศเราเอาไว้ ในที่สุดก็ได้จบสิ้นลง สิ้นสุดยุคสมัยอโยธยาศรีรามเทพนคร ลงด้วยน้ำมือของ พระเจ้าอลองพญา ซึ้งเป็นต้นกำเนิดราชวงศ์ คองบอง 

แต่แล้วใครจะคิดละครับว่า ราชวงศ์คองบองนี้ จะเป็นราชวงศ์สุดท้าย ในระบอบกษัตริย์ของประเทศพม่า(เมียนมาร์) ก่อนที่พม่าต้องเสียเมืองกลายเป็นเมืองขึ้นให้กับประเทศอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้นอังกฤษเป็นประเทศมหาอำนาจ มีเรือรบอันแข็งแกร่งและทรงพลัง รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย กว่าประเทศพม่าเป็นอย่างมาก 

เพียงแค่เวลาไม่นาน! ทหารอังกฤษก็สามารถบุกขึ้นไปถึงยังเมืองหลวงของประเทศพม่า นั่นคือเมือง มัณฑะเลย์ ใช้เวลาเพียงแค่ 7 วัน ไม่นานเลย ที่อังกฤษสามารถยึดประเทศพม่าได้ และแล้วก็ได้สิ้นสุดระบอบกษัตริย์ที่มีมาอย่างช้านาน ในสมัยของ พระเจ้าธีบอนั่นเอง 

ถึงเวลาแล้วที่ผม จะพาคุณผู้อ่านย้อนอดีตไปรับรู้ถึงสาเหตุว่าเพราะอะไร พม่าถึงได้เสียเมือง และใครที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ครั้งนี้อีกด้วย  

พระเจ้ามินดง

พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เปี่ยมไปด้วยธรรม พระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์ที่ใคร ๆต่างก็บอกว่าดีที่สุด ในยุคของราชวงศ์ อลองพญา ที่มีมาอย่างยาวนาน พระเจ้ามินดงมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารประเทศพม่าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นถึงพุทธมามะกะในพระพุทธศาสนา ท่านทรงศรัทธาและเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ทรงได้สร้างวัดขึ้นมาหลายร้อยแห่ง ในยุคสมัยของพระองค์เอง

พระเจ้ามินดง มีพระอัครมเหสี ชื่อพระนางชเวพญาคยี และพระสนมอีก 62 พระองค์ รวมถึงพระนางอเลนันดอ (ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการที่พม่าเสียเมืองอีกด้วย)  พระเจ้ามินดง มีบุตรและธิดาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้เขียน จะขอบอกเล่าแค่บุคคลสำคัญ ในเรื่องที่เขียนนะครับ

โอรสของพระเจ้ามินดง มีหลายพระองค์ หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าธีบอ ซึ่งจะได้เป็นกษัตริย์คนต่อไปต่อจากพระเจ้ามินดง ส่วนพระธิดาก็มีพระนางศุภยาลัต และ พระนางศุภยาจี ซึ่งพระนางสุภาวจีเป็นพี่สาวของพระนางศุภยาลัต และพระนางศุภญาเล ทรงเป็นน้องสาวคนสุดท้อง

ซึ่งในตอนนั้นพระเจ้ามินดง ไม่ได้มีความคิดที่จะแต่งตั้งพระเจ้าธีบอขึ้นเป็นกษัตริย์แต่อย่างใด เพราะพระเจ้ามินดง มีความตั้งใจที่อยากจะให้พระเจ้าธีบอทรงผนวช  พระเจ้ามินดงทรงเห็นว่าพระเจ้าธีบอเหมาะสมที่สุด ที่จะอยู่ภายใต้ร่มกาสาวภัทร ถ้าพูดง่าย ๆ เลย พระเจ้ามินดงทรงอยากให้พระเจ้าธีบอได้เป็นผู้นำทางศาสนา หรือ พระสังฆราช และพระเจ้ามินดงเป็นคนที่เลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก 

แต่ด้วยความมั่กใหญ่ใฝ่สูง ของพระนางอเลนันดอ ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสนมคนโปรดของพระเจ้ามินดง และต้องการที่จะเป็นใหญ่สืบต่อไปในภายภาคหน้า หลังจากที่พระเจ้ามินดงสวรรคตไปแล้ว ก็เลยวางแผนที่จะหากษัตริย์ที่สามารถจะเป็นหุ่นเชิดให้กับพระนาง ซึ่งผลสรุปก็ได้มาตกอยู่ที่พระเจ้าธีบอ เพราะพระเจ้าธีบอนั้น ทรงไม่ค่อยมีความรอบรู้ เกี่ยวกับโลกภายนอกมากนัก เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วพระเจ้าธีบอ จะศึกษาอยู่แต่ในโลกของพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ 

ว่ากันว่าพระนางอเลนันดอ ถึงขนาดได้กระทำการจับมือพระเจ้ามินดงซึ่งขณะนั้นทรงป่วยหนัก ทำการกากบาททับชื่อพระเจ้าธีบอ ให้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป ซึ่งตอนนั้นพระเจ้ามินดงประชวรหนักมาก ถึงขนาดไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และไม่มีสติรับรู้อะไรทั้งสิ้น แต่ในเมื่อมีหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้ามินดง จึงทำให้เหล่าขุนนางไม่สามารถทักท้วงได้ 

พระนางอเลนันดอ ยังได้วางแผนที่จะให้ลูกสาวคนโต อย่างพระนางสุภาวจีได้แต่งงานกับพระเจ้าธีบอภายหลังจากที่ได้เป็นกษัตริย์ไปแล้ว ในเมื่อลูกสาวก็ได้เป็นถึงพระมเหสีของกษัตริ์แล้วนั้น อำนาจที่พระนางอเลนันดอ ปรารถนาจะไปไหนเสีย

พระนางศุภยาลัต

แต่ก็มีสิ่งที่พระนางอเลนันดอ ไม่ทันได้คาดคิด นั่นก็คือลูกสาวคนรอง ที่ชื่อว่าพระนางศุภยาลัต ซึ่งพระนางศุภยาลัตนั้น ก็มีความมักใหญ่ใฝ่สูงไม่แพ้กับผู้เป็นแม่เลย ซึ่งข้อนี้ พระนางอเลนันดอต่างก็รู้ดี ว่านิสัยใจคอของลูกคนรอง นั้นเป็นยังไง พระนางจึงเลือกที่จะให้ พระนางสุภาวจี ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายธีบอเป็นการดีที่สุด และก็ไม่มีใครเคยรู้ถึงเรื่องนี้เลยว่า 

ครั้งเมื่อทรงพระเยาว์ พระนางศุภยาลัตได้ทำการลักลอบแอบเขียนจดหมายถึงพระเจ้าธีบอ ซึ่งการกระทำนี้ เป็นการกระทำที่ผิดกฎระเบียบภายในวัง ในขณะนั้นจะมีการแบ่งแยก หญิงชายอย่างชัดเจน และได้มีกฎข้อห้ามที่ไม่ให้ผู้หญิงกับผู้ชายได้เจอ หรือคุยกัน 

ถึงแม้ว่าจะเป็นพี่น้องต่างมารดากันก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่ว่าในตอนนั้นด้วยความที่พระเจ้าธีบอยังเด็กเลยไม่ได้สนใจ ใส่ใจอะไร แต่แล้วใครจะเชื่อว่า ชื่อของพระนางศุภยาลัต ที่อยู่ในเนื้อความของจดหมาย ที่เจ้าชายธีบอได้อ่านนั้น ได้เข้าไปอยู่ในจิตใจของพระเจ้าธีบอ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยส่วนตัวของพระเจ้าธีบอเองก็ใช่จะเชื่อว่าตัวเอง จะได้เป็นกษัตริย์ต่อจากผู้เป็นพ่อ 

ส่วนพระเจ้ามินดงเองก็ตั้งใจที่จะให้พระเจ้าธีบอทรงผนวช โดยที่จะไม่ให้สึกอีกเลย เพื่อที่ตัวของพระเจ้ามินดงเองจะได้เป็นพุทธมามกะ ที่จะคอยสนับสนุนพระเจ้าธีบอ ให้ทรงได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไปภายภาคหน้านั่นเอง

เมืองมัณฑเลย์

สาเหตุใด ที่ทำให้พระนางศุภยาลัต ในตอนเด็ก ได้ทำการลักลอบเขียนจดหมาย ถึงพระเจ้าธีบอ ซึ่งในตอนนั้นพระนางศุภยาลัตแม้ยังทรงพระเยาว์ แต่พระนางก็ทรงมีความคิด มีความทะเยอทะยานอยู่ในจิตใจ และอยากที่จะหาหลักประกันให้กับตัวของพระนางเอง ด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูงของพระนาง ที่คิดว่าในภายภาคหน้าของตัวเอง จะต้องได้ก้าวขึ้นเป็นพระมเหสีของกษัตริย์พม่าองค์ต่อไปให้จงได้

จากคำบอกเล่าของพี่เลี้ยง ที่อยู่ปรนนิบัติข้างกาย พระนางศุภยาลัต ได้เล่าให้ฟังว่า มีอยู่วันหนึ่งในวังได้จัดงานรื่นเริงขึ้น และจะจัดให้มีขึ้นทั้งฝั่งผู้ชายกับฝั่งผู้หญิง โดยที่จะไม่ให้สังสรรค์รื่นเริงไปด้วยกัน ตามกฎมณเฑียรบาลที่ได้ตั้งไว้ แต่ด้วยความซุกซนของพระนางเอง และความอยากรู้อยากเห็นจึงทำให้พระนางศุภยาลัตได้กระทำการลักลอบแต่งตัวเป็นชาย แอบแฝงเข้าไปในงานรื่นเริง ทางฝั่งของผู้ชาย และจึงทำให้ได้พบกับพระเจ้าธีบอเป็นครั้งแรก 

พระเจ้าธีบอนั้นก็ไม่ได้เป็นหนุ่มรูปงามมากมายเพียงใด โดยปกติแล้วพระเจ้าธีบอก็รูปร่างหน้าตาดูจะธรรมดา ธรรมดาทั่วไป แต่ก็มีคำพูดหนึ่งที่ พระนางศุภยาลัต ได้พูดกับพระพี่เลี้ยงในตอนนั้นว่า ” คนนี้แหละคือกษัตริย์ของข้าแล้วตัวข้าจะเป็นพระมเหสีคนเดียวของเขา “

ซึ่งในตอนนั้นเอง ก็ไม่มีใครล่วงรู้เลยว่า ภายภาคหน้าพระเจ้าธีบอ จะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ จริง ๆ อย่างที่พระนางศุภยาลัตได้บอกกล่าว เพราะในตอนนั้นพระนางอเลนันดอผู้เป็นแม่ ก็ยังไม่มีความคิดที่จะให้พระเจ้าธีบอขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้ามินดง แต่อย่างใด

พระนางศุภยาลัตและพระนางสุภาวจี
อันยศฐาบรรดาศักดิ์ ใครก็อยากจะได้กันทั้งนั้น ยิ่งเวลาผ่านไป พระนางอเลนันดอก็ยิ่งสั่งสมบารมีและอำนาจมากยิ่งขึ้น เหล่าขุนนางน้อยใหญ่ต่างให้การสนับสนุนในตัวของพระนางอเลนันดอซึ่งในตอนนั้น พระนางยังสามารถขึ้นไปอยู่จุดเดียวกับอัครมเหสีอย่างพระนางชเวพญาคยีได้อีกด้วย

แถมในตอนนี้ พระเจ้ามินดงยังไม่สามารถออกว่าราชการ หรือ เสด็จออกงานได้อีก หน้าที่ทั้งหมดนี้จึงตกไปอยู่ที่อัครมเหสีอย่างพระนางชเวพญาคยี ที่ต้องคอยออกว่าราชการแทนพระสวามี

แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด นั่นก็คือพระนางอเลนันดอ เพราะการที่นางได้ทำการ รวบรวมสมัครพรรคพวกในหมู่ข้าราชการ และเหล่าขุนนางน้อยใหญ่เอาไว้เป็นพวกมากมาย จึงทำให้ในที่สุด พระมเหสีอย่างพระนางชเวพญาคยี หมดบทบาทไปในที่สุด และในเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ พระนางอเลนันดอ ก็ถือโอกาสทำการแต่งตั้งพระเจ้าธีบอ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พม่าองค์ต่อไป 

โดยที่ในตอนนั้น พระเจ้ามินดง ยังไม่ได้เสด็จสวรรคตแต่อย่างใด ถึงจะรู้เช่นนี้ ก็ไม่มีใครกล้าทักท้วงได้ในเมื่อเหล่าขุนนางส่วนใหญ่ต่างให้การสนับสนุนแต่พระนางอเลนันดอแต่เพียงผู้เดียว และหลังจากที่ได้แต่งตั้งพระเจ้าธีบอ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เรียบร้อยแล้ว 

พระนางอเลนันดอ ก็ได้แต่งตั้งลูกสาวคนโต ซึ่งมีพระนามว่าพระนางสุภาวจี ขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าธีบอ แต่แล้วจะหาใช่เป็นมเหสีเพียงคนเดียวไม่ ในที่สุดลูกสาวอีกคน พระนางศุภยาลัต ก็ได้เป็นพระมเหสีองค์รอง แห่งกษัติร์ธีบอด้วยอีกคน ซึ่งในเรื่องนี้นั้น มันไม่ใช่เป็นความต้องการของพระนางอเลนันดอเลย แต่มันกลับกลายเป็นความต้องการของพระเจ้าธีบอเองซะมากกว่า

แล้วในที่สุด สิ่งที่ พระนางศุภยาลัต ปรารถนาก็ได้เป็นจริง โดยที่ไม่ต้องสงสัยกันเลยว่า นับจากนี้ต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าธีบอต้องทรงรับรู้ และต้องทรงตัดสินใจในฐานะกษัตริย์ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใด เรื่องราวทุกสิ่ง ทุอย่างเหล่านี้ จะต้องมีพระนางศุภยาลัต เป็นผู้ร่วมตัดสินใจและเห็นชอบด้วยเสมอ ส่วนใหญ่แล้วคำสั่ง หรือ การตัดสินใจหลายอย่าง มันมาจากการตัดสินใจของพระนางศุภยาลัต หาใช่พระเจ้าธีบอไม่ 

ส่วนพระมเหสีอย่างพระนางสุภาวจีนั้น แทบจะไม่มีบทบาทอะไรอีกเลย และ ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะบอกนั่นก็คือพระนางสุภาวจี ไม่เคยร่วมหลับนอนกับเจ้าชายธีบอเลย แม้แต่ครั้งเดียว ขนาดนอนด้วยกันในห้องสองต่อสอง ก็ยังไม่เคย และพระนางสุภาวจี ต่างก็มีนิสัยใจคอที่แตกต่างจากน้องสาวของตัวเองเป็นอย่างมาก 

นิสัยของพระนางสุภาวจี เป็นคนเรียบร้อยเป็นกุลสตรีทุกกระเบียดนิ้ว แตกต่างจากพระนางศุภยาลัตผู้เป็นน้อง ที่มีนิสัยขี้หึง เจ้าคิดเจ้าแค้น เป็นจอมวางแผน และเป็นคนที่มักใหญ่ใฝ่สูงเป็นอย่างมาก และในเมื่ออำนาจ ได้ตกไปอยู่ในมือของพระนางศุภยาลัต จึงทำให้ผู้เป็นแม่ พระนางอเลนันดอต้องเข้ามาใกล้ชิดสนิทสนม กับพระนางศุภยาลัต 

ซึ่งโดยความจริงแล้ว แม่ลูกทั้งสองนี้ต่างก็เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานานแล้ว เพราะว่า พระนาง อเลนันดอ กลัวอำนาจที่ตัวเองมีจะโดนยึดคืนไปก็เลยทำดีกับพระนางศุภยาลัตให้มากเข้าไว้ ข้อนี้เอง พระนางศุภยาลัต ก็รู้นิสัยมารดาเป็นอย่างดีและก็รู้ถึงจุดประสงค์ในข้อนี้ดี ประมาณว่าไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ประมาณนี้ครับ

และมีหนึ่งเหตุการณ์ที่ผมจะไม่เล่าไม่ได้  นั่นคือเหตุการณ์ที่ทำให้ พระนางอเลนันดอ และก็พระนางศุภยาลัต แสดงออกให้เห็นว่าเป็นคนที่มีจิตใจที่อำมหิต โหดร้าย นั่นก็คือการที่พระนางทั้งสองได้ออกคำสั่งให้มีการประหารชีวิต ฆาตกรรมหมู่ เครือญาติพี่น้องของตัวเอง ทั้งลูกเล็กเด็กแดง เด็กทารก คนแก่คนเฒ่าที่แทบจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แล้ว หน่อเลือดเนื้อเชื้อไขที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้ามินดงทั้งหมดประมาณ 500 กว่าชีวิต โดนคำสั่งให้ประหารชีวิตทั้งหมด 

แต่ก็มีบางคนที่หนีรอดไปได้ ก็มีเจ้าชายอยู่หลายพระองค์เหมือนกันครับที่หนีรอด ที่รอดก็เพราะว่า รู้ข่าวก่อนก็เลยทำการหลบหนีไปก่อนล่วงหน้า ส่วนพวกที่เหลือนั้นถูกนำตัวไปยังห้องทรมาน และทำการทรมานญาติพี่น้องของตัวเองจากเพชฌฆาต ในรูปแบบที่พิสดารต่าง ๆ ก่อนที่จะทำการปิดชีพ การกระทำในครั้งนี้ใช้เวลาถึง 3 วัน จึงทำให้พระนางศุภยาลัต ต้องจัดให้มีมหรสพในวังหลวง เพื่อเป็นการกลบเสียงร้องอันโหยหวน เป็นเวลา 3 วัน แล้วถึงจะทำการประหารทุกคนในตอนกลางคืนเพื่อที่จะไม่ให้เสียงร้องนั้นได้ยินไปถึงประชาชนในเมือง 

ส่วนพระเจ้าธีบอเองนั้นก็หารู้เลยไม่ เพราะพระนางศุภยาลัตได้มอมพระเจ้าธีบอด้วยสุราและนารี ตลอดระยะเวลา 3 วัน 3 คืน ในการประหารครั้งนี้ ศพจะถูกฝังไว้อยู่ข้างกำแพงเมือง มันเป็นบ่อดินขนาดใหญ่เสร็จแล้วเอาดินกลบฝังเอาไว้ แต่ด้วยที่มีศพเป็นจำนวนมาก พอถึงเวลาที่ขึ้นอืดศพต่างๆก็ขึ้นอืดดันจนดินในบ่อนั้นบวมขึ้นมา จนถึงต้องให้เอาช้างมาเหยียบให้ดินนั้นยุบลงไป แต่ เหมือนเดิมอยู่ได้ไม่นานมันก็บวมขึ้นมาอีก ก็เลยต้องให้มีการขุดเอาศพขึ้นมา เพื่อเผาหรือทิ้งน้ำก็แล้วแต่ นี่แหละครับคือความเหี้ยมโหดของสองแม่ลูก 

แต่ถ้าเราลองมองกันตามหลักความเป็นจริง ที่ว่าในสมัยก่อนนั้น การกระทำแบบนี้มันก็คือ การจัดการศัตรูในภายภาคหน้า หรือเรียกว่าหอกข้างแคร่ เพื่อที่จะไม่ให้ย้อนกลับมา ทำร้ายเราไดในภายหลัง แต่ที่ผมคิดว่ามันก็ยังโหดอยู่ดี ก็คือขนาดคนเฒ่าคนแก่ แม้เด็กทารกฟันยังไม่ขึ้น หรือยังไม่สามารถรับรู้อะไรเลย ก็ไม่มีข้อยกเว้น ก็นี่แหละครับคือความเหี้ยมโหดของพระองค์…. (โปรดติดตามตอนหน้า) ซึ่งคือตอนจบ #พม่าเสียกรุง ep2 (จุด..เริ่มต้นของกษัตริย์องค์สุดท้าย)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun

What's your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
1
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

More in:Story

Story

เปิดประวัตินิทานของ “อีสป” ต้นตำรับนิทานคติสอนใจผู้เป็นตำนานของโลกแห่งนิทาน

นิทานของอีสปเป็นนิทานที่ถูกแต่งขึ้นโดยทาสชาวกรีกที่มีขื่อว่า อีสป (Aesop) ที่นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าเขานั้นน่าจะเกิดอยู่ในช่วง 620 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นทาสโดยกำเนิดตามกฏหมายของชาวกรีก
Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
Story

คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่ 84

ผมและไอ้แว่นได้ลงมาตั้งแถวรอเยี่ยมญาติอยู่หน้าองค์พระประจำแดน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวสำหรับพวกที่มีชื่อเยี่ยมญาติในแต่ละรอบ ผมสังเกตเห็นไอ้แว่นมันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนอยากจะถามอะไรผม แต่มันก็ยังไม่กล้าเอ่ยปากถามสักที