Breaking NewsStory

Google ยอมรับปัญหาที่อินเตอร์เน็ตล่ม ส่วนหนึ่งเกิดมาจาก ฉลามกัดสายเคเบิล!

Google ยอมรับปัญหาที่อินเตอร์เน็ตล่ม ส่วนหนึ่งเกิดมาจาก ฉลามกัดสายเคเบิล!

ปลาฉลาม คือปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ในไฟลัม : Chordata (สัตว์มีแกนสันหลัง) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Selachimorpha จัดให้อยู่กลุ่มเดียวกับปลากระดูกอ่อน จำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว มีเหงือกซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่ก็มีบางชนิดที่กินแพลงตอนเป็นอาหาร พบได้มากในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก 

ในประเทศไทยพบได้มากที่สุดทางฝั่งทะเลอันดามัน ปัจจุบันถูกค้นพบมาแล้ววกว่า 440 ชนิด ซึ่งเจ้าปลาฉลามถ้าถามใครที่เดินผ่านไปมา น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ใครกันบ้างหล่ะที่จะรู้ว่า เพชฌฆาตแห่งท้องทะเลตัวนี้ จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตทั่วโลกล่มได้!!

ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน ทางบริษัท Google ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ในงาน Google Cloud Roadshow และประกาศบอกถึงสาเหตที่ทำไม อินเตอร์เน็ตถึงมีปัญหาล่มไปบางช่วงขณะ ซึ่งในตอนนั้น Google ถือว่าเป็นเจ้าใหญ่ที่เป็นเจ้าของสายเคเบิลใต้มหาสมุทรที่เชื่อมโยงสัญญาณอินเทอร์เน็ตระหว่างทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก มีระยะทางมากกว่า 100,000 ไมล์ กับพบปัญหาที่สายเคเบิลมักที่จะได้รับความเสียหายอยู่เป็นประจำ ทางทีมนักดำน้ำจึงเริ่มการติดตั้งกล้องเพื่อหาสาเหตุต้นตอความเสียหายของสายเคเบิล และก็ได้พบว่า แท้จริงแล้ว ปัญหาของเรื่องทั้งหมด เกิดขึ้นด้วยฝีมือของปลาฉลามสัตว์นักล่าแห่ท้องทะเลนี้เอง

ซึ่งเจ้าปลาฉลามพวกนี้ ในกล้องที่บันทึกภาพ ได้จับภาพเอาไว้ได้ว่าพวกมันทำท่าทีว่ายผ่านไป ผ่านมาอยู่หน้ากล้องซักระยะ และสุดท้ายก็ได้เข้ามากัดจนสายเคเบิลได้รับความเสียหาย เมื่อมันกัดอยู่สักพักหนึ่งก็ว่ายจากไป และเป็นแบบนี้อยู่หลายครั้งในฉลามอีกหลายตัวก็ทำเรื่องทำนองเดียวกัน

ทางด้านนักชีวทางทะเลเคยได้ให้คำตอบเกี่ยวกับพฤติกรรมของปลาฉลามว่า ฉลามเป็นสัตว์ที่ค้นหาเหยื่อด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กทุกครั้ง และคาดว่าที่พวกมันเข้าไปกัดสายเคเบิลนั้น เพราะส่วนหนึ่งสัมผัสได้ถึงคลื่นแม่เหล็กที่ออกมาจากสายเคเบิล จึงเข้าใจว่าเป็นเหยื่อ หรือ ไม่ก็อีกกรณีหนึ่ง ฉลามถือเป็นสัตว์ที่มีความสงสัย อยากรู้อยากเห็น และการกัดของมันคือการลองดูว่าสิ่งนี้คืออะไร กินได้หรือไม่ได้ นั่นเอง

นายแบรนดอน บัตล์เลอร์ ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Google ได้ออกมายืนยันถึงแนวทางการแก้ปัญหานี้ และยอมรับว่า เมื่ออดีตปัญหาเกี่ยวกับปลาฉลามกัดสายเคเบิล ถือว่าเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตล่ม แต่ปัจจุบันทางเราได้แก้ปัญหาด้วยการ ใช้วัสดุเคลฟลาอย่างดีมาห้อหุ่มสายเคเบิลไว้ จึงทำให้ปัญหานี้ ในปัจจุบันไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย 

นับว่าเป็นข่าวที่ค่อนข้างเหลือเชื่อเลยที่ว่า ปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตล่มส่วนหนึ่งเกิดมาจากน้ำมือของปลาฉลามที่อยู่ในทะเล ที่ถ้าไม่มีคลิปยืนยันเป็นหลักฐานต้องบอกเลยว่างานนี้ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตโดนต่อว่ายับแน่นอน…

นอกจากปลาฉลามแล้ว ยังมีสัตว์จำพวกอื่นอีกเหมือนกันที่มักจะทำให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตของเราล่ม จะด้วยความซนก็ดี หรือ ความอยากรู็ก็ได้ ที่ทำให้พวกมันทำลายสายสื่อสารเหล่านี้ สัตว์เหล่านั้นคือ

ลิง

ลิงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีความซุกซน อยากรู้อยากเห็น และยังเป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นจำนวนมาก ด้วยความซุกซนของมัน บ่อยครั้งจึงนำเรื่องชวนปวดหัวมาให้แก่พวกเราได้ โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย! 

สำนักข่าวรอยเตอร์ เคยรายงานถึงปัญหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตล่มเป็นวงกว้างในประเทศอินเดียว่า สาเหตุนั้นเกิดมาจากการทำลายของเจ้าพวกลิงแสมที่แอบไปลักลอบแทะสายไฟเบอร์ออปติค ที่ใช้ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วแทบเทือกเขาพาราณาสี เล่นเอาซะกลุ่มวิศวะกรที่รับหน้าที่ดูแลนี้ วุ่นวายกันอยู่หลายเดือน จึงแก้ปัญหานี้สำเร็จ 

พวกเขาได้เสนอไปทางรัฐบาลว่าในระยะยาวควรนำสายลงดินให้หมด เพราะถ้าจะให้ไล่ฝูงลิงออกไปคงไม่ใช่เรื่องดีเป็นแน่ กลุ่มลิงเหล่านี้มีจำนวนมากและพวกมันก็อยู่ที่นี่มาก่อนมนุษย์ จนกลายเป็นความเชื่อของคนท้องถิ่นว่า ลิงเหล่านี้คือลิงของเทพที่อยู่และทำหน้าที่ปกป้องวัดในเทือกเขาพาราณาสีนั่นเอง

กระรอก

กระรอกเป็นสัตวเลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวเล็ก ปราดเปรียว ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ เป็นสัตว์ในตระกูลฟันแทะ ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง ธรรมชาติของกระรอกจึงต้องกัดหรือแทะอยู่ตลอดเวลา จึงมักเกิดปัญหาที่พวกมันแทะสายไฟและสายอินเตอร์เน็ต โดยเคยมีข่าวที่เกี่ยวกับพวกมันแทะสายอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นที่ สหรัฐฯ 

โดยรายงานระบุว่า บริษัทโทรคมนาคม Level 3 ผู้ให้บริการสายเคเบิ้ลให้กับสหรัฐฯ เป็นจำนวนกว่า 84,000 ไมล์ ได้รายงานว่ากระรอกเป็นสาเหตุที่ทำให้สายเคเบิ้ลของบริษัทเกิดความเสียหายสูงถึง 17% จากความเสียหายทั้งหมด ซึ่งนับเป็นตัวเลขและมูลค่าที่สูงอยู่ไม่ใช่น้อย ซึ่งทางบริษัทได้เคยวางแผนจัดการด้วยการหุ้มสายด้วยวัสดุแข็งแรงทนทาน แต่ก็ไม่วายที่บางครั้ง กระรอกเองก็หลุดเข้ามาแทะได้ เพราะด้วยนิสัยตามธรรมชาติของกระรอก จะทำให้มัดหยุดแทะก็คงเป็นไปไม่ได้..

อันที่จริง ยังมีรายงานที่เกี่ยวกับสัตว์ ที่เข้ามาทำลายสายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบนี้อยู่อีกทั่วโลก ซึ่งแน่นอน มันคงสร้างความน่ารำคาญให้แก่เรา เมื่อเรากำลังใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ แต่จะโทษพวกสัตว์อย่างเต็มที่ก็คงไม่ได้ เพราะแท้จริงแล้ว อาจจะเป็นเราเองที่ไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของพวกมันก่อน พวกมันจึงทำการตอบโต้เราก็อาจเป็นได้… ไว้พบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ #ปลาฉลามกัดสายเคเบิล

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile

What's your reaction?

Excited
2
Happy
1
In Love
2
Not Sure
2
Silly
3

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย
Breaking News

ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย

สาวกพลังใบยิ้มออกแล้ว เมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศ "ปลดล็อกกัญชา" ออกจากยาเสพติดในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่ได้รับการปลดล็อก เนื่องจากว่าสรรพคุณของกัญชาให้ประโยชน์อย่างมากมาย
Breaking News

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2565 มีสาระสำคัญในเรื่องใดบ้าง