คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่6 ep2
บทที่6.เรื่องเล่าภายในคุก5 Ep.2
เมื่อตอนที่แล้ว ผมได้เล่าถึงโรงครัวจนจบEp.1และผมจะมาต่อ Ep.2 กันเลยนะครับ…ต่อมาจากโรงครัว ก็ จะเป็นอาคารทรงแปด เหลี่ยม อยู่ติดกับโรงครัว มีขนาดชั้นเดียว กระทัดรัด และด้านข้างจะมีพระประธานเอาไว้ให้ผู้คุม และ นักโทษกราบไหว้ สถานที่มีไว้ สำหรับผู้คุมทำงานเรียกว่า”ฝ่ายควบคุมกลาง” ก็จะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายนายประจำการอยู่จุดนั้น เช่น หัวหน้าฝ่ายควบคุม มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักโทษ ไม่ให้กระทำผิดในเรือนจำ ทุกๆอย่างเกี่ยวกับนักโทษ ฝ่ายควบคุมจะเป็นผู้ดูแลทั้งหมด รวมไปถึงการโยกย้ายนักโทษ การจำแนกผู้ต้องขัง
เพื่อให้ไปอยู่ตามจุดต่างๆในแดน(รายชื่อจำแนกนั้นทางแดนจะเป็นคนคัด แล้ว ส่งไปให้ฝ่ายควบคุมเป็นผู้จำแนกอีกที) ส่วนด้านหน้าห้องฝ่ายควบคุม จะมีป้อมตรวจค้นอยู่หนึ่งจุด มีไว้ตรวจค้นรถทุกประเภท
จุดนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจค้น รถที่วิ่งเข้าออก อย่าง เช่น รถบรรทุกผักมาส่งโรงครัว รถส่งแก็สหุงต้ม รถส่งสินค้า ของกิน และ ของใช้ ต่างๆ รถรับงาน และ ส่งงาน ของฝ่ายฝึกวิชาชีพ รถทั้งหมดนั้นมาจากภายนอกเรือนจำ จึงจำเป็นต้องตรวจค้นอย่างละเอียด เพราะ รถที่มาจาก
ภายนอกเรือนจำ มักจะเป็นช่องทางให้นักโทษ นำสิ่งของต้องห้ามและอาวุธปืน ร่วมไปถึง ยาเสพติดเข้ามาอีกด้วย ตรงจุดนี้ก็จะมีนักโทษที่เรียกว่าผู้ช่วยเหลือ(เด็กฝ่าย)ทำงานอยู่หลายคน แต่ส่วนมากจะสังกัดอยู่ประจำแดนแรกรับทั้งหมด
ต่อจากฝ่ายควบคุมมา ก็ จะเป็นจุดรอเยี่ยมญาติ ของนักโทษ ตรงจุดนี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่คุมอยู่ด้วย รวมไปถึงนักโทษที่คอยเดินใบเยี่ยมในแต่ละรอบด้วยกัน ในจุดนี้ใช้นักโทษที่สังกัดอยู่แดนเด็ดขาดแล้วทั้งหมด และส่วนเรื่องการเยี่ยมญาตินั้น เนื่องมาจากปัญหานักโทษมีอยู่เป็นจำนวนมากเกินไปนั้น จึงทำให้ในแต่ละวันนั้นรอบของการเยี่ยมญาติ มีไม่พอต่อจำนวนญาติที่ต้องการจะเยี่ยมนักโทษ จึงทำให้เรือนจำ ได้มีการกำหนดให้ แดนแรกรับเยี่ยมได้เฉพาะ วันจันทร์กับวันศุกร์
ส่วนแดนเด็ดขาดเยี่ยมได้เฉพาะ วันอังคารกับวันพฤหัส ส่วนวันพุธ ก็ จะเป็นแดนหญิงอย่างเดียว “ถ้าถามในความรู้สึกส่วนตัวผมนั้น คิดว่าการทำแบบนี้นั้นเป็นทางออกของการแก้ปัญหาที่ดี ที่สุด ทำให้ในการเข้าเยี่ยมญาติในแต่ละรอบมีเวลาคุยกับญาติมากขึ้น ซึ่งแต่ก่อนแค่รอบละ5นาทีเท่านั้นไม่เกินนี้ ส่วนเดี๋ยวนี้เยี่ยมได้ประมาณอย่างน้อยๆ15นาที ถ้าเกินกว่านี้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับ จำนวนญาติที่มาเยี่ยมอีกด้วย แต่ยังไงจะต้องไม่เกินรอบละ30นาที
ต่อมาก็สถานที่ ที่อยู่ติดกันระหว่างที่รอเยี่ยมญาติกับแดนแรกรับ นั้นคือ สถานพยาบาล(พ.บ) ที่มีไว้ให้สำหรับนักโทษในเรือนจำ และใน พ.บ จะมีนักโทษอยู่ประจำใน พ.บ อยู่เลยจำนวน10กว่าคน เพราะใน
พ.บ นั้น มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นแรกเอาไว้ตรวจโรคกับจ่ายยา ส่วนชั้นสองก็จะเป็นเรือนนอนมีทั้งหมด 4 ห้อง ด้วยกัน มีไว้เพื่อ เป็นที่พักฟื้นของนักโทษที่ป่วยหนักๆ ร่วมไปถึงนักโทษที่ทำงานอยู่ใน พ.บ ทั้งหมด อีกทั้งยังมีนักโทษที่ทำงานโรงครัว ประจำกะดึก(ทำกับข้าวมื้อเช้า)ที่จะต้องทำงานตอนตี4ของทุกๆวันจำนวน10คนอีกด้วย.
ภายใน พ.บ นั้นเป็นสถานที่ปิด มีประตูทางเข้า ออก เป็นสัดส่วน จึงทำให้นักโทษไม่สามารถเข้าไปได้โดยพลาการ อีกด้วย พ.บ จะทำการตรวจรักษานักโทษ วันละประมาณ 40 คน โดยแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาด้วยกันคือ ตอนเช้า20คน และ ตอนบ่าย20 คน โดยทำการสลับกันตรวจคือ แดนแรกรับวัน อังคารและพฤหัส ส่วนแดนเด็ดขาดนั้นจะเป็นวันจันทร์และศุกร์
ส่วนแดนหญิงนั้น เขาจะมี พ.บ ภายในแดนเป็นของตัวเองอีกด้วย และส่วนมากๆเลย โรคที่นักโทษมักเป็นกันมากที่สุดคือ โรคผิวหนัง เช่น หิด ตะมอย อาการคัน ต่างๆ สาเหตุก็เพราะนักโทษมันมากเกินไปทำให้การเป็นอยู่ค่อนข้าง”แออัด” อย่างมากจึงทำให้โรคผิวหนังซึ้งเป็นโรคติดต่อกันอยู่แล้ว ติดกันได้มากขึ้น รองลงมาก็จะเป็นไข้หวัด ปวดท้อง ปวดหลัง และทางเรือนจำก็จะมียาประจำเอาไว้ สำหรับนักโทษทีมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว จำพวกโรค ความดัน เก๊า เป็นต้น ส่วนถ้าใครเป็นโรคเบาหวานที่จะต้องทำการฉีดยาเบาหวานทุกวันนั้น
ทางญาติจะต้องนำยามาฝากไว้ต่างหาก ร่วมถึงโรคหัวใจอีกด้วย ส่วนโรคที่พบเห็นอยูบ่อยเหมือนกันและโรคนี้ก็สามารถฆ่าเราได้ก็คือ โรคบอด(TB) วัณโรคนั้นเอง ทางเรือนจำก็มียาไว้รักษาอีกเช่นกัน ส่วนโรคเอดส์นั้น ผมเชื่อว่าต้องมีนักโทษเป็นกันอยู่ทุกๆเรือนจำเหมือนกัน ทาง พ.บ ก็มียาประจำให้กินอีกเช่นกัน
ส่วนสถานที่ต่อไปคือร้านค้าสงเคราะห์ภายนอก มีเอาไว้เพื่อ จำหน่ายสินค้าเอาไว้ให้กับนักโทษ ร้านค้าก็จะมีนักโทษที่ทางร้านค้าได้เลือก มาทำงาน อยู่ด้วยกันประมาณ50คน โดยหลักเกนณ์ที่ให้นักโทษมาสมัครนั้น คือ เป็นนักโทษที่ต้องโทษ ครั้งแรก และเหลือโทษจำไม่เกิน3ปี เป็นนักโทษที่ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์ ทั้งหมด เพราะถ้าใครได้มีโอกาส เข้ามาทำงานที่ร้านค้าสงเคราะห์นั้น จะ ได้รับเงินปันผลในการทำงานตกประมาณ3เดือน ต่อครั้งที่ 10000บาท
เงินจำนวนดังกล่าวจะนำเข้ามาให้ในบันชีเงินฝากของนักโทษโดยตรง(เรียกว่าใบชมพู) หรือบุ็คที่นักโทษเรียกกัน จึงเป็นสิ่งที่นักโทษทุกคนต้องมี และ ที่สำคัญในทุกๆครั้งที่เราเบิกของ หรือ ว่ามีเงินฝากเข้ามา เราต้องไปเช็คดู และ เซ็นชื่อกำกับอีกด้วย ถ้าหากนักโทษคนใดไม่ยอมมาเซ็นชื่อ ปล่อยทิ้งเอาไว้เกิน3วันขึ้นไป ทางเจ้าหน้าที่ร้านค้า จะทำการยึดใบชมพูเอาไว้ เพราะว่าถ้านักโทษคนใดโดนยึดใบชมพู นักโทษคนนั้นก็จะไม่สามารถ เบิกของได้ทุกกรณี ทำให้เราต้องเดินเรื่อง ขอใบชมพูกับเจ้าหน้าที่ร้านค้า ซึ่งก็ไม่ได้คืนมาง่ายๆ หรอกครับ โดนซ่อมกันไปเช่น ลุกนั้ง 100 คุณผู้อ่านอาจคิดว่าง่าย แต่ขอโทษนะครับแค่50 ก็เดินไม่เป็นแล้ว อีกอย่าง ใบชมพูมันก็เปรียบเสมือนสมุดบัญชีธนาคาร ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป
เพื่อเป็นหลักฐานการฝากเข้า และ การเบิกมาใช้ของนักโทษในแต่ละวัน ในวงเงินไม่เกิน300บาทต่อวัน นักโทษที่ทำงาน มีหน้าที่คือเช็คจำนวนสินค้าที่นักโทษต่อหนึ่งคนได้ทำการเบิก ส่วนใบที่ใช้เบิกนั้นก็คือ กระดาษใบยาวแค่นั้นเอง จะแบ่งเป็น2ส่วนด้วยกัน ส่วนบนจะเบิกเฉพาะของสด(อาหาร) และ ด้านล่างเอาไว้เบิกของแห้ง(ของใช้ ขนม นม มาม่า ปลากระป๋อง ของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ฯลฯ)
จากประสปการณ์ ของผม ที่เคยเป็นเด็กร้านค้าในเรือนจำมาก่อน(เข้ามาติดรอบแรก) แต่ขอบอกว่าไม่ใช่ที่เรือนจำแห่งนี้ ผมติดอยู่ที่”วัยหนุ่มกลาง” ซึ่งถ้ามีโอกาสผมก็อยากจะเล่าช่วงเวลา ในวัยรุ่นของผมกับการติดคุกครั้งแรก ในสถานที่ ที่ใครๆต่างบอกกันว่า ดิบ เถื่อน รุนแรง” อย่างวัยหนุ่มกลาง” เด็กร้านค้างานนั้นหนักอยู่เหมือนกัน ใครอยู่แผนกตัดบุ็ค นั้น วันๆต้องอยู่กับตัวเลข คอยเช็คเงินเข้าและออกของนักโทษ ว่าตรงกันไหม ส่วนแผนกยกของ ก็ ยกกันไปเกือบจะทั้งวันเลยทีเดียว ถึงจะเหนื่อยมากแค่ไหน แต่ยังไงก็ตาม ผลตอบแทนที่ได้รับผมว่า มันคุ้มค่านะครับ
ส่วนที่ติด กับร้านค้าสงเคราะห์ ก็จะเป็นห้องทำงานของฝ่ายฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกทุกคน มีหัวหน้าฝ่ายฝึกวิชาชีพเป็นผู้ดูแล ตรงจุดนี้ ผมมีส่วนร่วมโดยตรง เพราะมันเกี่ยวกับงาน ที่บรรดาผู้ต้องขังทำส่งเพื่อรับเงินปันผลทุกๆสิ่นเดือน สิ่นเดือนผมก็จะต้องเอางานมาส่งที่นี้
ส่วนทางด้านหลังของฝ่ายฝึกและร้านค้าสงเคราะห์นั้น ก็ จะเป็นสถานที่กักขังแทนค่าปรับรวมกับสถานฟื้นฟู ชายและหญิง พวกที่ถูกกักขังแทนค่าปรับก็คือ พวกที่โดนศาลตัดสินโทษจำมาแล้ว แต่ มีคำพ่วงท้ายว่าปรับกี่แสนๆ ส่วนใหญ่ค่าปรับนั้นจะเป็นผู้ต้องหาคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นส่วนใหญ่ และพอดีกับตอนทีต้องโทษอยู่ นั้น ไม่มีการอภัยโทษให้กับผู้ต้องเลย จึงทำให้ค่าปรับยังอยู่ ไม่มีการหักออกแต่อย่างไร แต่ในกฎหมายบ้านเราจะปรับมากขนาดไหน ถ้าไม่ได้จ่าย( ไม่มี) ในวันปล่อยตัวของเรานั้น เราจะถูกพาไปสถานกักขังแทนค่าปรับอีกที โดยอัตราโทษจะไม่เกิน2ปี เท่านั้นน
ส่วนฟื้นฟูมีไว้สำหรับบำบัดผู้ที่ถูกจับข้อหาเสพยาเสพติดเพียงอย่างเดียว เท่านั้น ซึ้งถ้าเราโดนจับครั้งแรก เราจะอยู่ในนี้ประมาณไม่เกิน45วัน ส่วนถ้าโดนในรอบต่อๆไปนั้น ก็ ขึันอยู่กับดุลพินิจของศาล ว่า จะอยู่ที่เดิม หรือ จะจับส่งเข้ากรมทหาร และถ้าถูกจับส่งกรมทหารนั้น จะได้รับการบำบัดเป็นระยะเวลา
ทั้งสิน3เดือน แต่ ถ้าหากใครที่โดนจับเสพหลายรอบและไม่เข็ดหลาบ ทางศาล สามารถตัดสินเป็นโทษจำคุกแทน แต่ โทษจะไม่ต่ำกว่า3เดือน และ ไม่เกิน6เดือน และที่ผ่านๆมาแดนฟื้นฟูชายมีคนเข้ารับการบำบัดจำนวนมาก บางเดือน3-4ร้อยคนเลยทีเดียว
และสถานที่สุดท้ายนั้น ตั้งอยู่ระหว่างกลาง แดนเด็ดขาดชาย และ แดนหญิง เป็นอาคาร3ชั้น แนวยาว มีประตูเป็นสัดส่วน นั้นคือฝ่ายการศึกษา สถานที่แห่งนี้มีไว้รองรับนักโทษ ที่อยากเรียนหนังสือ เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ไม่รู้หนังสือ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ป.ว.ช(ทั้งหมดนี้เรียนฟรี) ส่วน ป.ว.ส นั้นเสียเงินเรียน ตามหน่วยกิจ ส่วนระดับปริญญา ก็มี ม.ส.ธ(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช) นักโทษที่มาเรียนส่วนมาก อาจารณ์จากสารพัดช่างเป็นคนสอน
และนอกจากห้องเรียนแล้ว ชั้นล่างประมาณครึังนึงของอาคารเรียน จะเป็นห้องสมุด มี หนังสือให้เลือกอ่านหลายแนวด้วยกัน ผมเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือพอสมควร ยิ่งมาอยู่ในคุกแบบนี้ และ เวลาว่างของผมมันเยอะจนเกินคำว่าพอดี ไปมากๆุ หนังสือมันช่วยได้มากเลยทีเดียว ผมจึงต้องมาห้องสมุดทุกอาทิตย์ และ จะยืมหนังสือกลับมาอ่านภายในแดนอีกด้วย……” ก็จบลงไปแร้ว กับการอธิบายสถานที่ต่างๆ ที่ อยู่รอบๆภายในเรือนจำ ว่ามีอะไรบ้าง และ มันมีความสำคัญ ต่อ นักโทษในกรณีใดบ้าง….
จึงทำให้ บทที่6 นี้ ยาวไปสักหน่อยนะครับคุณผู้อ่าน แล้วพบกันใหม่..สวัสดีครับ.( หมีขาว ขั่ว โลกเหนือ)
*ถ้ามึงคิดจะบิน ก็จงอย่าลืมดินที่มึงเดิน* ฝากไว้ให้คิด
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending