Breaking News

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2565 มีสาระสำคัญในเรื่องใดบ้าง

PDPA เข้าใจถึงความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคลกันเถอะ

PDPA หรือ Personal Data Protection Act พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดว่ามีสาระสำคัญในเรื่องใดบ้าง ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกันไปพร้อมๆกันค่ะ

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA คืออะไร

PDPA หรือ Personal Data Protection Act คือ กฎหมายที่ถอดแบบมาจาก GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮ็กข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล แต่ PDPA จะเป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต 

ความสำคัญ และองค์ประกอบ

PDPA จะทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว

ซึ่งในปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การครอบครองเบอร์โทรศัพท์โดยการซื้อฐานข้อมูลมาจากที่อื่นและโทรไปหาโดยที่ไม่มีการรับรู้จากเจ้าของเบอร์โทรศัพท์นั้น หรือการที่เราได้รับโฆษณาบน Social Media จากข้อมูลการใช้งานของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือไม่ได้ยินยอมให้องค์กรเก็บข้อมูล เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน เช่น การซื้อขายข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม ที่มักพบได้มากในรูปแบบการโทรมาโฆษณา หรือล่อลวง

โดยข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ด้วย เช่น ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

ในส่วนของผู้ที่หน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA จะมีดังนี้

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Subject : บุคคลที่ข้อมูลสามารถระบุไปถึงได้
    • คนที่ข้อมูลส่วนบุคคลชุดนั้นๆ จะชี้มาที่ตัวตนของบุคคลนั้นได้ ซึ่งก็คือตัวเรานั่นเอง ภายใต้ PDPA เจ้าของข้อมูลเป็นผู้ได้รับการปกป้องคุ้มครองและมีสิทธิต่างๆเหนือข้อมูลส่วนบุคคลของตน
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Controller : ผู้มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล
    • คน บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ที่เป็นคนตัดสินใจว่า จะมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไร เพื่ออะไร อย่างไร ภายใต้ PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดหลักที่ต้องปฏิบัติตาม PDPA ให้ครบถ้วน พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่รับข้อมูลจัดส่งสินค้าของลูกค้าที่ CF ของมาเพื่อติดต่อส่งของก็เป็น Data Controller ได้ และบริษัททุกบริษัททันทีที่มีพนักงานคนแรก ที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อจ่ายเงินเดือนก็เป็น Data Controller ด้วยเช่นกัน
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Processor : ผู้ดำเนินการตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูล
    • คน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะทำภายใต้คำสั่ง หรือในนามของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เท่านั้น ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น พี่ๆ messenger ที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคนที่เราต้องการส่ง ของให้เพื่อเอาของไปส่งแทนเรา กรณีนี้พี่ๆ ก็เป็น Data Processor หรือกรณีบริษัทใช้ ระบบ Cloud Service ซึ่งผู้ให้บริการจะเก็บข้อมูลแทนบริษัท ผู้ให้บริการ Cloud ก็เป็น Data Processor ด้วยเช่นกัน
PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

บทลงโทษ

สำหรับบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA อย่างเช่น ยังไม่มีการจัดทำ Privacy Policy หรือยังไม่ได้ขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล หรือยังไม่แต่งตั้ง DPO ก็อาจนำไปสู่โทษ แพ่ง ซึ่งผู้ได้รับความเสียหายได้เงินค่าเสียหายกลับบ้าน พร้อมกับที่อาจได้โบนัสจากศาลเป็นค่าเสียหายเชิงลงโทษ โทษอาญา ที่อาจนำไปสู่โทษปรับ และกรรมการอาจต้องติดคุก โดยเฉพาะกรณีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว

โทษทางแพ่ง โทษทางแพ่งกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจริงให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด และอาจจะต้องจ่ายบวกเพิ่มอีกเป็นค่าค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดได้อีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง ตัวอย่าง หากศาลตัดสินว่าให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นจำนวน 1 แสนบาท ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดค่าสินไหมเพื่อการลงโทษเพิ่มอีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง เท่ากับว่าจะต้องจ่ายเป็นค่าปรับทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 3 แสนบาท

โทษทางอาญา โทษทางอาญาจะมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยมี โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยโทษสูงสุดดังกล่าวจะเกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม PDPA ในส่วนการใช้ข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ ประเภทข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน(Sensitive Personal Data) ส่วนกรณีหากผู้กระทำความผิด คือ บริษัท(นิติบุคคล) ก็อาจจะสงสัยว่าใครจะเป็นผู้ถูกจำคุก เพราะบริษัทติดคุกไม่ได้ ในส่วนตรงนี้ก็อาจจะตกมาที่ ผู้บริหาร, กรรมการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ที่จะต้องได้รับการลงโทษจำคุกแทน

โทษทางปกครอง โทษปรับ มี ตั้งแต่ 1 ล้านบาทจนถึงสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จะเป็นกรณีของการไม่ปฏิบัติตาม PDPA ในส่วนการใช้ข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศของประเภทข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน(Sensitive Personal Data) ซึ่งโทษทางปกครองนี้จะแยกต่างหากกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากโทษทางแพ่งและโทษทางอาญาด้วย

สรุปใจความสำคัญ

หัวในสำคัญของ PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีไว้เพื่อต้องการรักษาสิทธิที่พึงมีแก่เจ้าของข้อมูลให้มั่นใจว่าข้อมูลของตนนั้นจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามความต้องการและยินยอมของเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลมองว่าการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการขอข้อมูล ก็สามารถปฏิเสธการให้ข้อมูลนั้นได้ เพื่อเป็นการป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง

ในส่วนผู้เก็บข้อมูลก็มีผลกระทบที่จะต้องปฏิบัติตาม PDPA ด้วย จึงต้องมีการกำหนดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรว่าจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA ต่อไป

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile

What's your reaction?

Excited
0
Happy
1
In Love
1
Not Sure
1
Silly
0

You may also like

Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย
Breaking News

ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย

สาวกพลังใบยิ้มออกแล้ว เมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศ "ปลดล็อกกัญชา" ออกจากยาเสพติดในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่ได้รับการปลดล็อก เนื่องจากว่าสรรพคุณของกัญชาให้ประโยชน์อย่างมากมาย
Metaverse โลกใหม่แห่งอนาคต
Breaking News

Metaverse โลกใหม่แห่งอนาคต

ด้วยกระแสข่าวจาก Facebook ที่มีแผนรีแบรนด์บริษัทด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยมุ่งเน้นไปในเรื่อง “เมตาเวิร์ส(Metaverse)” หรือโลกดิจิทัล ที่ผู้คนสามารถโต้ตอบและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้

Comments are closed.

Breaking News

ญี่ปุ่นเตือน! ประเทศแถบอาเซียนให้ระวังการก่อการร้าย! ดัน #การก่อการร้ายแบบพลีชีพ ติดเทรนทวิตเตอร์ในไทยวันนี้!!

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ทางด้านสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนให้พลเมืองของตัวเอง ที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ให้ระมัดระวังการก่อการร้าย ด้วยวิธีระเบิดพลีชีพ
Story

ครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ 9/11 กับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่โลกต้องจดจำ

วันนี้ในอดีต ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ ที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลเคดาได้ทำการจี้เครื่องบินพาณิชย์ เพื่อพุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในใจกลางมหานครนิวยอร์ก เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตมากถึง 3,000 ราย
Breaking News

ทั่วโลกเฝ้าจับตา ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ “มิว(B.1.621)” หวั่นระบาดหนักแทนที่สายพันธุ์เดลตา

โควิดสายพันธุ์มิวเกิดการกลายพันธุ์ในจุดตำแหน่งที่เคยอยู่ในเบต้า แกรมมา อาทิ E484K ซึ่งสามารถหลบภูมิคุ้มกัน หรือดื้อวัคซีนได้ โดยมีทั้งส่วน N501Y