Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

ขึ้นชื่อว่า “สงคราม” เรานั้นทุกคนต่างรู้ดีถึงนิยามของคำนี้ว่าคืออะไร? เพราะในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามากมายมนุษย์นั้นต่างรู้จักคำนี้กันมานาน นับแต่โบราณเมื่อมนุษย์กลุ่มแรกรู้จักการสร้างอาวุธขึ้น คำว่าสงครามก็อาจจะเกิดขึ้นมานับแต่นั้น และสงครามเองเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างรู้ดีว่าถ้าเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็จะมีแต่ความสูญเสีย ทั้งชีวิต ทรัพย์สิน หรือแม้แต่จิตใจของเราก็ตามที่ยากเกินจะประเมินได้. 

ซึ่งในประวัติศาสตร์ของพวกเราก็จะมีสงครามน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นกันมาอย่างมากมาย ที่มีสูญเสียกันตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักล้านเลยทีเดียว แต่ทว่าใครกันล่ะจะรู้ว่าครั้งหนึ่งพวกเรามนุษย์ก็เคยทำสงครามกับพวกสัตว์อีกด้วยเช่นกัน และในสงครามครั้งนั้นพวกเราเองก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้เสียด้วย! ในบทความนี้เองผู้เขียนก็จะขอนำพาคุณผู้อ่านไปย้อนเวลากับเรื่องราวสงครามสุดแปลกใน เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ นั้นจะเป็นเช่นไรเชิญรับชม รับอ่านกันได้เลยจ้า.

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย ก่อนหน้านี้ รัฐบาลออสเตรเลียก็เคยได้ริเริ่มโครงการมอบเงินรางวัลให้แก่เกษตรกรที่สามารถฆ่านกอีมูได้ แต่ก็ประสบกับความล้มเหลว เพราะพวกมันมีจำนวนมาก และสามารถแพร่พันธุ์ได้ค่อนข้างรวดเร็วจนยากเกินควบคุม จึงทำให้การดำเนินงานในภาคการเกษตรล่าช้า จนไม่นานรัฐบาลออสเตรเลียก็ได้มีมติที่จะส่งปัญหานี้ให้ทหารเป็นผู้จัดการ!

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลออสเตรเลียได้ตัดสินใจดำเนินการขั้นเด็ดขาด ด้วยการทำสงครามกับพวกนกอีมู โดยปฏิบัติการนี้นำโดยพันตรี G.P.W. เมเรดิธแห่งกองสรรพาวุธหนักที่เจ็ด กรมทหารปืนใหญ่ออสเตรเลีย พร้อมด้วยทหารกลุ่มหนึ่งที่มีปืนเลวิสสองกระบอกและกระสุน 10,000 นัด ถูกส่งไปยังพื้นที่เพื่อปฏิบัติการ ในวันแรก ๆ ทหารสามารถฆ่านกอีมูได้สำเร็จเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าในวันต่อมาก็ได้เกิดพายุฝนตกหนัก จนทำให้ฝูงนกอีมูนั้นกระจัดกระจายออกไปยังที่ต่าง ๆ เป็นวงกว้าง ซึ่งนั่นก็เพิ่มภาระให้ทหารในการออกลาดตระเวนเพื่อกวาดล้าง และการกวาดล้างโดยใช้กำลังพลนั้นได้ทำให้ทหารออสเตรเลียตระหนักได้ว่า นกอีมูเหล่านี้มีความสามารถในการเอาตัวรอดระดับสูง เพราะพวกมันนั้นสามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็วเสียกว่าทหาร  มิหนำซ้ำพวกมันยังมีทักษะการหลบหลีกจนสามารถหลบกระสุนปืนไรเฟิลได้อย่างเชี่ยวชาญอีกด้วย!

ถึงแม้จะประสบความสำเร็จในช่วงแรก ๆ แต่ในไม่ช้าทหารกล้าเหล่านี้ก็ตระหนักได้ว่า พวกเขาไม่สามารถควบคุมประชากรนกอีมูด้วยวิธีการทางทหารได้ หลังจากพยายามฆ่านกอีมูอยู่หลายสัปดาห์ ปฏิบัติการครั้งนี้ก็ถูกยกเลิกในที่สุด โดยที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาพวกเขาสังหารนกอีมูไปได้เพียง 1,000 ตัว เท่านั้นเอง.

สงครามนกอีมูกลายเป็นเรื่องราวที่โด่งดังในออสเตรเลียและทั่วโลก หลายคนใช้เป็นตัวอย่างของความไร้ประโยชน์ของการแทรกแซงทางการทหารต่อธรรมชาติ บางคนวิจารณ์ว่าปฏิบัติการนี้โหดร้ายและไม่จำเป็น โดยให้เหตุผลว่าวิธีอื่นในการควบคุมประชากรนกอีมูน่าจะได้ผลมากกว่า

แม้จะถูกวิจารณ์ต่าง ๆ นา ๆ  แต่สงครามนกอีมูก็ส่งผลกระทบยาวนานต่อวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย อีกทั้งยังเป็นหัวข้อของหนังสือ ภาพยนตร์ และสารคดีมากมาย ที่มักถูกอ้างถึงในการอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ แม้ว่าการดำเนินการจะไม่ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุดก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นและยังคงดึงดูดจินตนาการของผู้คนทั่วโลกต่อไป.

จบไปแล้วกับเรื่องราวย้อนประวัติศาสตร์ของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้เคยมี เราจะเห็นได้ว่าสงคราามนั้นไม่เคยมีเรื่องดี ๆ ให้กับเราเสียเลย แถมยังเป็นการกระทำที่ค่อนข้างสิ้นเปลืองในแบบที่ไม่จำเป็น แทนที่เราจะสร้างความเข้าใจของเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกของธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีกว่านี้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและธรรมชาติ ซึ่งก็น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่า และเราก็ควรที่จะใช้สงครามครั้งนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า “แท้จริงแล้วเราเองก็เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในธรรมชาติที่กว้างใหญ่นี้” ก็เพียงเท่านั้นเอง…

ข้อมูลเพิ่มเติม

นกอีกมู (Common Emu) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dromaius novaehollandiae เป็นสัตว์ประเภทนกที่บินไม่ได้ขนาดใหญ่ลำดับที่สองรองลงมาจากนกกระจอกเทศ และมีขนาดตัวที่สูงถึง 5 – 6 ฟุต หนักมากถึง 150 ปอนด์ มีเส้นขนที่หยาบ แข็ง สีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ในต่อนที่เป็นลูกนกจะมีขนสีน้ำตาลเข้ม มีลายทางสีขาวพาด และเมื่อโตขึ้นลายจะหายไป อีกทั้งนกอีมูยังเป็นนกที่วิ่งได้อย่างรวดเร็วโดยที่สามารถวิ่งได้เร็วถึง 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว และสามารถพบได้ทั่วไปบนทวีปออสเตรเลีย และอาศัยอยู่ได้ในแถบที่มีอากาศร้อนและแห้ง

นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ที่ค่อนข้างต่ำ ในอดีตสามารถนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ได้ แต่ตอนนี้รัฐบาลออสเตรเลียได้ขึ้นทะเบียนนกอีมูเป็นสัตว์อนุรักษ์และออกกฏห้ามการส่งออกนกอีมูนอกประเทศนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้น และที่เราเห็นว่าสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการเลี้ยงนกอีมูทั้งในประเทศไทยหรือประเทศอื่นก็ตาม นั่นอาจจะเกิดจากการเพาะพันธุ์เองในภายหลัง โดยที่นอกจากเนื้อที่นำมารับประทานแล้วยังมีความเชื่อว่า น้ำมันที่สกัดจากนกอีมูนั้นมีสาร Sapogens ในน้ำมันอีมูซึ่งสามารถทำให้ผิวพรรณยืดหยุ่น เสริมสร้างผิวที่หย่อนคล้อย มีริ้วรอยให้กลับมาแข็งแรงและกระชับขึ้น จึงเหมาะกับการบำรุงผิวหน้า คอ และ หน้าอก รวมถึงช่วยเรื่องผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ลบริ้วรอย ลดสิวอักเสบ บำรุงผมและเล็บได้อีกด้วย..

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun

What's your reaction?

Excited
0
Happy
1
In Love
1
Not Sure
0
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ
Story

เปิดประวัตินิทานของ “อีสป” ต้นตำรับนิทานคติสอนใจผู้เป็นตำนานของโลกแห่งนิทาน

นิทานของอีสปเป็นนิทานที่ถูกแต่งขึ้นโดยทาสชาวกรีกที่มีขื่อว่า อีสป (Aesop) ที่นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าเขานั้นน่าจะเกิดอยู่ในช่วง 620 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นทาสโดยกำเนิดตามกฏหมายของชาวกรีก

Comments are closed.

More in:Story

Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
Story

คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่ 84

ผมและไอ้แว่นได้ลงมาตั้งแถวรอเยี่ยมญาติอยู่หน้าองค์พระประจำแดน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวสำหรับพวกที่มีชื่อเยี่ยมญาติในแต่ละรอบ ผมสังเกตเห็นไอ้แว่นมันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนอยากจะถามอะไรผม แต่มันก็ยังไม่กล้าเอ่ยปากถามสักที
"วันเข้าพรรษา" ประวัติที่มา ความสำคัญ
Story

“วันเข้าพรรษา” ประวัติที่มา ความสำคัญ

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับเทศกาล "วันเข้าพรรษา" ที่ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2565 ที่จะถึงนี้ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงที่มาและความสำคัญของวันสำคัญดังกล่าว