Story

สงคราม 6 วัน ย้อนรอยสงครามใหญ่แห่งโลกอาหรับ ที่โลกต้องจดจำ

สงคราม 6 วัน ย้อนรอยสงครามใหญ่ แห่งโลกอาหรับ ที่โลกต้องจดจำ

สงคราม 6 วัน (Six Day War) คือสงครามครั้งใหญ่ ที่อิสราเอลต้องต่อสู้กับประเทศพันธมิตร แห่งโลกอาหรับ เป็นเวลาถึง 6 วัน สงครามครั้งนี้อิสราเอลได้รับชัยชนะ และได้ผื่นแผ่นดินเพิ่มมากขึ้นจากสงครามครั้งนี้ 

สงคราม 6 วัน เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปีค.ศ.1967 โดยกลุ่มชนชาติอาหรับที่เข้าล้อมอิสราเอล มีอียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย ได้ร่วมตัวกันเพื่อทำสงครามกับอิสราเอล อนึ่งการทำสงครามกับอิสราเอล ส่วนหนึ่งของสงครามมุ่งหวังในการ ยึดคืนดินแดนให้แก่ปาเลสไตน์ รวมถึงจุดยุทศาสตร์สำคัญต่างๆ ที่ไม่ต้องการให้ตกไปอยู่ในมือของอิสราเอล ผลของสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของชนชาติพันธมิตรอาหรับ ส่งผลให้ในเวลาต่อมา พวกเขาต้องเสียดินแดนจำนวนหนึ่งให้แก่อิสราเอล ไล่ไปตั้งแต่เขตเวสแบงค์ ฉนวนกาซา ที่ราบสูงโกลัน และรวมถึงนครเยรูซาเลม ผลสงครามครั้งนี้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างมากต่อชาติพันธมิตรอาหรับในเวลานั้น 

ฉนวนการเกิดสงคราม 6 วัน

การเกิดสงคราม 6 วัน ต้องย้อนกลับไปในปีค.ศ. 1948 ที่ขณะนั้นชนชาติยิว ได้รวมตัวกันภายใต้การนำของหลักความคิดใหม่ ทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นในการจะสร้างชาติ พวกเขาได้เรียกตัวเองว่ากลุ่มไซออนิสต์ หรือคือ ผู้คนที่เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ แห่งความเป็นชาตินิยม ด้วยการช่วยเหลือจากประเทศอังกฤษทำให้ในเวลาต่อมาพวกเขาก็ได้ สร้างนครรัฐหรือประเทศได้สำเร็จ และตั้งชื่อให้ว่า อิสราเอล 

ในช่วงเวลาการสร้างชาติของชาวอิสราเอล ทำให้มีชาวปาเลสไตน์จำนวนมากกว่า 750,000 คน ต้องถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่พวกเขาอยู่ ตามข้อตกลงที่สหประชาชาติได้ยื่นข้อเสนอเอาไว้ว่า อิสราเอลจะได้พื้นที่การปกครองมากถึงร้อยละ 56 ของพื้นที่ทั้งหมด การกระทำนี้ของอิสราเอล นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงตามมา โดยชาติอาหรับที่ไม่เห็นด้วยในข้อตกลงนี้ ในเวลานั้น มีอียิปต์กับจอร์แดน พวกเขาได้เข้ามาทำการทวงคืนผืนดินจากชาวปาเลสไตน์ เกิดการสู้รบกันเกิดขึ้น และจบลงด้วยการเจรจาสันติภาพในเวลาต่อมา โดยการแบ่งเขตการปกครองขึ้นมาใหม่ แต่ในครั้งนี้ อิสราเอลต้องได้รับการปกครองเมืองเยรูซาเลมด้วยครึ่งหนึ่ง นั่นคือเยรูซาเลมตะวันออก ส่วนทางด้านตะวันตก จะตกเป็นอยู่ในความดูแลขอจอร์แดน ข้อตกลงแห่งสันติภาพฉบับนี้ก็ถูกใช้เพื่อคานอำนาจ ไม่ให้เกิดการสู้รบกันอีก แต่ก็รู้ว่าสัญญาเป็นเพียงแค่กระดาษแผ่นหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานสัญญาฉบับนี้ก็คงไม่มีค่า

ถึงจะมีข้อตกลงสันติภาพ แต่ตามคำบอกเล่าของผู้คน รวมถึงสื่อและนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า ในช่วงเวลาตั้งแต่ปีค.ศ. 1949 ถึงปีค.ศ.1956 มีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่พยายามเดินทางเพื่อกลับมายังผืนแผ่นดินเกิดกว่า 2000-5000 คน ที่ถูกสังหารโดยฝีมือของทหารอิสราเอล ถึงแม้ทางด้านอิสราเอลจะปฎิเสธเรื่อยมา แต่ด้วยหลักฐาน ร่วมทั้งเหตุจูงใจ ที่พวกเขาไม่ต้องการชาวปาเลสไตน์กลับสู่บ้านเกิดของตน เพราะต้องการเก็บแผ่นดินไว้ให้คนของตน ก็ดูจะมีน้ำหนักให้เชื่อได้ส่วนหนึ่ง 

แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องอื้อฉาวที่สุดของทหารอิสราเอล ก็มาจากการที่ทหาร อิสราเอลได้บุกโจมตีหมู่บ้าน As Samu’ ในเขตเวสต์แบงก์ สืบเนื่องมาจากทหารของพวกเขาถูกสังหารที่หมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้ในเวลาต่อมา พวกเขาจึงทำการระดมโจมตีใส่หมู่บ้าน ส่งผลให้บ้านเมืองต่างถูกทำลาย เหตุการณ์นั้นทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 100 ราย นับเป็นการกระทำการตอบโต้ ที่รุนแรงที่สุดในรอบที่ผ่านมา ทำให้ในเวลาต่อมา สถานการณ์ความตึงเครียดได้แผ่ปกคลุมไปทั่วในโลกอาหรับ

จนกระทั่งในปีค.ศ.1956 ก็ได้เกิดเหตุการณ์ “วิกฤตกาณ์สุเอซ” หรือ สงครามสุเอช-ซีนาย ขึ้นในปี ค.ศ.1956 เมื่ออิสราเอลได้จับมือกับฝรั่งเศสและอังกฤษบุกรุกพื้นที่ของอียิปต์เพื่อหมายจะโค่นล้มผู้นำ Gamal Abdel Nasser  ประธานาธิบดีอียิปต์ในสมัยนั้น หลังจากที่เขาได้ทำให้คลองสุเอซตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศตน ซึ่งก่อนหน้านั้นอำนาจในการบริหารคลองแห่งนี้เป็นของอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสามประเทศถูกบังคับให้ถอนอำนาจ กระทั่งสิบปีถัดมากองกำลังรักษาสันติภาพแห่งองค์การสหประชาชาติได้เข้าประจำการในบริเวณชายแดนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล ในเวลาต่อมาประธานาธิบดีกา มาล อับเดล นัสเซอร์ ของอียิปต์ ก็ประกาศจะล้างแค้น และสนับสนุนขบวน การชาตินิยมของชาวปาเลสไตน์ พร้อมกับลงมือจัดตั้งพันธมิตรอาหรับที่ราย รอบประเทศอิสราเอล ส่งผลให้ในสถานการณ์ตอนนั้นเกิดความตึงเครียดเป็นอย่างมาก

โดยทางอิสราเอลได้ต่อว่า อียิปต์และจอร์แดน ว่าเป็นผู้ให้การหนุนหลังบรรดานักรบชาวปาเลสไตน์ให้โจมตีกองทหาร และพลเรือน ในเขตประเทศอิสราเอล พอลงมือเสร็จก็ถอยเข้าไปอยู่ที่ฉนวนกาซา ซึ่งอยู่ในความควบคุมของอียิปต์ หรือไม่ก็ในเวสต์แบงก์ซึ่งอยู่ในความควบคุม ของจอร์แดน การกระทำนี้สร้างความโมโหให้แก่อิสราเอลเป็นอย่างมาก อีกทั้งพื้นที่ที่ติดกันกับประเทศซีเรีย ก็มักจะถูกซีเรียยิงปืนใหญ่มาจากที่ราบสูงโกลัน เข้าใส่สวนเกษตรของชาวอิสราเอลอยู่บ่อยครั้ง ก็ยิ่งสุมไฟแห่งความโกรธแค้นมากยิ่งขึ้น จนในเวลาต่อมา อิสราเอลตัดสินใจนำกองทหารเข้าไปประจำในเยรูซาเลมตะวันออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่จอร์แดน อีกทั้ง ยังเกิดเหตุการณ์ประทะกันอยู่บ่อยครั้ง ในเยรูซาเลม

ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ.1967 ทางด้านซีเรียที่ในเวลานี้ได้ยกระดับการโจมตีมากขึ้นกว่าเดิม พวกเขาใช้จุดยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ระดมยิงปืนใหญ่ใส่พื้นที่การเกษตรของอิสราเอลอย่างหนัก ส่งผลให้ในเวลาต่อมาอิสราเอลได้สั่งให้ฝูงบินรบ ขึ้นบินเพื่อทำการตอบโต้ กลายเป็นศึกกลางเวหาระหว่างอิสราเอลและซีเรีย การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด ผลจบลงด้วยการที่อิสราเอลสามารถกำชัยชนะเหนือเวหาเอาไว้ได้  จึงทำให้ซีเรียต้องสูญเสียเครื่องบินรบมิกส์ไปถึง 6 ลำ และอิสราเอลยังข่มขู่ให้ซีเรียหยุดยิง มิฉะนั้นเขาจะยกระดับการโจมตีให้สูงขึ้นอีก ในเวลาต่อมาซีเรียจึงเรียกร้อง ขอแรงสนับสนุนจากประเทศอาหรับ

จนกลางเดือน พฤษภาคม กองทัพอียิปต์ 100,000 นาย กับรถถัง 1,000 คันก็เคลื่อนพลเข้าสู่ คาบสมุทรซีนาย ซึ่งติดกับพรมแดนด้านทิศใต้ของอิสราเอล ที่ซึ่งมีกองกำลัง ของสหประชาติตั้งอยู่ก่อนแล้วในฐานะผู้สังเกตการณ์

ในเวลาต่อมาอียิปต์จึงสั่งการให้กองกำลังทหารแห่งสหประชาชาติถอนกำลังออกจากซีนาย แล้วส่งกองกำลังทหารของตนเองเข้าประจำการแทน เพราะพวกเขาได้แอบดักฟังวิทยุของโซเวียตและเข้าใจว่ากองทัพอิสราเอลมีแผนที่จะเข้าโจมตีซีเรีย ตามข้อตกลงที่เคยร่วมกันทำไว้กับซีเรียในปีค.ศ.1955 ว่าถ้าชาติใดถูกรุกรานอีกชาติหนึ่งต้องเข้าให้ความช่วยเหลืออย่างทันที และไม่กี่วันต่อมา ประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ได้ระงับการคมนาคมทางเรือของอิสราเอลในทะเลแดง

ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม อียิปต์และจอร์แดนได้ร่วมลงนามข้อตกลงเพื่อปกป้องประเทศร่วมกัน ส่งผลให้ทหารจอร์แดนอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอียิปต์อย่างเต็มอัตรา ต่อมาไม่นานอิรักก็เริ่มคล้อยตามคำร้องดังกล่าวอีกราย

เมื่อโลกอาหรับเริ่มที่จะหันมาจับมือกัน ทางด้านอิสราเอลก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า พายุลูกใหญ่กำลังจะเข้ามาใส่พวกเขาอย่างทันที พวกเขาจึงเริ่มหาลือ และเตรียมพร้อมสำหรับศึกครั้งนี้ การปิดคลองสุเอซ ส่งผลร้ายแก่อิสราเอลเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเส้นทางเดียวที่อิสราเอลจะออกสู่ทะเลได้ ทำให้ปัญหาการส่งออกน้ำมันดิบเริ่มที่จะหยุดชะงัก กปรกับที่อิสราเอลเคยเตือนอียิปต์ไว้แล้วว่า ถ้าปิดคลองอีกครั้งเดียว เท่ากับว่าเขาประกาศเริ่มสงคราม อิสราเอลจึงได้ทำการตัดสินใจครั้งใหญ่ เขาต้องเริ่มลงมือก่อน ไม่งั้นทุกอย่างจะต้องสายเกินไป อิสราเอลถอดบทเรียนมาจากสงครามในปีค.ศ. 1949 ที่พวกเขาไม่รีบจัดการให้เสร็จสิ้นในทีเดียว จึงทำให้ผลต่างๆเป็นอย่างเช่นตอนนี้ เมื่อที่ประชุมเห็นชอบแล้วว่า พวกเขาควรรีบทำการโจมตีแบบสายฟ้าแล่บโดยทันที เพื่อตัดกำลังเพราะการรับมือกับสงครามจากหลายทิศไม่เป็นผลดีเท่าไหร่นัก

จนช่วงเช้าในวันที่ 5 มิถุนายน ฝูงบินของอิสราเอลได้รับคำสั่งให้เข้าโจมตีอียิปต์ในทันที ซึ่งในขณะนั้นอียิปต์ถือว่ามีกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนั้น ในเวลา 8.45 น. ซึ่งอิสราเอลลงมือนั้น เครื่องบินส่วนใหญ่ของอียิปต์ยังจอดอยู่ พวกผู้บัญชาการทหารก็กำลังจัดการธุระของตน ก่อนที่จะทันสังเกตุถึงความเปลี่ยนแปลง เครื่องบินรบของอิสราเอลก็สามารถหลบหลีก เรดาร์ของอียิปต์เข้ามาได้ และเข้าโจมตีในทิศทางที่ไม่มีใครคาดคิด การโจมตีครั้งใหญ่ ที่ไม่ทันได้ตั้งตัว ทำให้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง อิสราเอลซึ่งเน้นโจมตีกองทหารและสนามบิน ได้ทำลายเครื่องบินรบของอียิปต์ไป 309 ลำจากทั้งหมด 340 ลำ จากนั้นทหารราบของอิสราเอลก็เคลื่อนเข้าสู่คาบสมุทรซีนายและฉนวนกาซา เข้าสู้รบกับหน่วยทหารของอียิปต์ ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายอียิปต์สูญเสียอย่างหนัก ขณะที่ทหารอิสราเอลเสียชีวิตเพียงไม่กี่คน

ขณะเดียวกัน อิสราเอลได้บอกไปยังกษัตริย์ฮุสเซนแห่ง จอร์แดนว่าอย่ายุ่งเกี่ยวกับการศึกครั้งนี้ แต่ในเช้าวันแรกของสงครามนั้น นัสเซอร์ได้แจ้งไปยังกษัตริย์ฮุสเซนว่าอียิปต์กำลังมีชัยชนะ ซึ่งประชาชนชาว อียิปต์ก็เชื่ออย่างนั้นอยู่หลายวัน ในเวลา 11.00 น. ของเช้าวันแรก กองทัพ จอร์แดนจึงโจมตีอิสราเอลที่เยรูซาเล็มด้วยปืนครกและปืนยาว และยิงปืนใหญ่ เข้าใส่เป้าหมายต่างๆ ในเขตประเทศอิสราเอล

เมื่อทำเอากองทัพอากาศของอียิปต์พินาศไปแล้ว   ฝูงบินของ อิสราเอลก็หันมาเล่นงานจอร์แดนอย่างหนัก พอตกตอนเย็น กองทัพอากาศของจอร์แดน ก็แทบไม่มีอะไรเหลือ ขณะที่อิสราเอลสูญเสียเพียงเล็กน้อย เมื่อถึงเที่ยงคืน ทหารราบของอิสราเอลก็เข้าโจมตีทหารจอร์แดนในเยรูซาเล็ม รุ่งเช้าวันที่ 6 มิถุนายน ทหารอิสราเอลก็ล้อมเมืองนี้ไว้ได้เกือบทั้งหมด

ในวันที่สอง กองทัพอากาศของอิสราเอลยังโจมตีฐานทัพ อากาศต่างๆ ของฝ่ายอาหรับอย่างต่อเนื่อง เพิ่มยอดความสูญเสียของเครื่อง บินเป็น 416 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบิน 2 ใน 3 ของซีเรีย เมื่อสามารถ ครองน่านฟ้าได้เกือบสมบูรณ์แล้ว เครื่องบินรบและเครื่องบินทิ้งระเบิดของ อิสราเอลก็สามารถสนับสนุนการรุกของรถถังและทหารราบบนภาคพื้นดินได้ อย่างสบาย

ฉะนั้น กำลังเสริมของจอร์แดนจึงไม่สามารถไปถึงเยรูซาเล็ม ได้ ในเวลา 10.00 น.ของวันที่ 6 มิถุนายน อิสราเอลก็สามารถยึดกำแพงตะวันตก (Western Wall) หรือกำแพงพิลาป (Wailing Wall) ในเขตกรุงเก่า (Old City) ของเยรูซาเล็มได้ ซึ่งกำแพงนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของ ศาสนายูดาย

นับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาเกือบ 2,000 ปีที่ชาวยิวสามารถเข้า ควบคุมกำแพงแห่งนี้ได้ ขณะที่การสู้รบภาคพื้นดินในแหลมซีนายยังดำเนินต่อไป โดยอียิปต์เป็นฝ่ายร่นถอยต่อการรุกของอิสราเอล

ในวันที่สามของสงคราม คือ 7 มิถุนายน กองทัพจอร์แดนได้ ถูกผลักดันออกจากเวสต์แบงก์ข้ามแม่น้ำจอร์แดนกลับไปยังเขตแดนของตน สหประชาชาติได้จัดให้อิสราเอลกับจอร์แดนหยุดยิงกันโดยมีผลในเย็นวันนั้น

ในวันที่สี่คือ 8 มิถุนายน กองทัพอิสราเอลก็บุกถึงคลองสุ เอซ มีการยิงปืนใหญ่ต่อสู้กันตลอดแนว ขณะที่เครื่องบินของอิสราเอลก็ถล่มทหารอียิปต์ที่แตกร่น พอควบคุมแหลมซีนายได้แล้ว อิสราเอลก็หันเป้าไปต่อสู้บนที่ราบสูงโกลัน ของซีเรียที่ถือว่าเป็นจุดยุทศาสตร์สำคัญอีกแห่ง

ในวันที่ห้าของสงคราม หรือก็คือวันที่ 9 มิถุนายน อิสราเอลเจอกับการต่อสู้ที่ค่อนข้างยากลำบาก เพราะต้องรุกขึ้นที่สูงชันไปสู้กับทหารซีเรียที่มีแนวหลุมเพลาะเป็นชัยภูมิอย่างดี โดยอิสราเอลส่ง ทหารม้ายานเกราะขึ้นไปรบกับแนวหน้าของซีเรีย ขณะที่ทหารราบก็รายล้อม ที่ตั้งต่างๆ ของทหารซีเรียไว้ การต่อสู้และการปะทะกันเป็นไปอย่างดุเดือด ทหารอิสราเอลก็สามารถรุกคืบขึ้นไปได้สำเร็จ 

จนกระทั่งเข้าสู่วันที่หกของสงคราม หรือก็คือวันที่ 10 มิถุนายน อิสราเอลและซีเรียก็ประกาศหยุดยิงกัน ในเวลา 18.30น. และทำให้อิสราเอลเข้าควบคุมพื้นที่ราบสูงโกลันได้ทั้งหมดเป็นอันยุติสงคราม 6 วัน

ส่วนทางด้านอียิปต์ก็ยังไม่ยอมเจรจา สันติแต่อย่างใด พวกเขาทำได้เพียงถอยร่นกองกำลังเข้าไปรักษาการที่ดินแดนของตน ตั้งรับเพื่อเตรียมรับมือหากอิสราเอลต้องการบุก เป็นเวลากว่าหลายปีที่ยังไม่มีข้อยุติ และในเวลานั้นอิสราเอลก็ได้ปกครองคาบสมุทรซีนายเอาไว้ตลอด จนกระทั่งปีค.ศ.1979 อิสราเอลและอียิปต์ก็ได้จับมือ เจรจาสันติภาพ ตามข้อตกลงของแคมป์เดวิด

ผลสรุปของสงคราม 6 วัน

อิสราเอลได้รับชัยชนะในสงครามได้อย่างรวดเร็วนั้น สาเหตุมาจากการคิดและการวิเคราะห์ที่ชาญฉลาด ทำให้ตัดสินใจชิงลงมือจู่โจมก่อน จึงทำให้ฝ่ายตนได้รับชัยชนะ ส่งผลทำให้ฝ่ายอาหรับเสียกระบวน อียิปต์ จอร์แดน และซีเรีย สูญเสียเครื่องบินรบไปเกือบหมด อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก

เฉพาะที่แหลมซีนายและฉนวนกาซา ทหารอียิปต์เสียชีวิตไปราว 10,000 นาย ขณะที่อิสราเอลสูญเสียแค่ 300 นาย โดยรวมแล้ว อียิปต์เสียทหาร 11,000 นาย จอร์แดนเสียประมาณ 6,000 นาย ซีเรียเสียราว 1,000 นาย และอิสราเอลเสีย 700 นาย

พวกผู้นำอาหรับจึงสูญเสียความนิยมภายในประเทศของตน ขณะที่รัฐบาลอิสราเอลได้คะแนนนิยมอย่างมาก จึงทำให้ยิวไซออนิสต์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอิสราเอล สงครามครั้งนี้ไม่ใช่เป็นแค่สงครามระหว่างอิสราเอลและชาติพันธมิตรอาหรับเท่านั้น ยังรวมถึงมหาอำนาจในตอนนั้น ระหว่างโซเวียตและอเมริกาที่ได้ต่างเข้ามากันแบบลับๆ โดยทางโซเวียตได้สนับสนุนอาวุธให้แก่กองกำลังชนชาติพันธมิตรอาหรับ ส่วนอเมริกาให้การสนับสนุนอิสราเอล เสมือนกับการให้ทั้งคู่ต่างทดลองใช้อาวุญของตนในการสู่รบ ผลที่ออกมาในครั้งนี้ทำให้โซเวียตรู้สึกเสียหน้าเป็นอย่างมาก ที่อาวุธของตนไม่สามารถเอาชนะอาวุธจากอเมริกาได้ 

จนกระทั่งในวันที่  22  พฤศจิกายน   สหประชาชาติได้ออกข้อมติที่  242  เรียกร้องให้อิสราเอลถอนทหารออกจากดินแดนยึดครอง   และให้ชาติอาหรับรับรองเอกราชของอิสราเอลเป็นการแลกเปลี่ยน และให้หลักประกันความสงบตามแนวพรมแดนเป็นการตอบแทน

แต่เหตุการณ์ก็หาเป็นไปตามข้อมติที่ 242 ไม่ ฝ่ายอาหรับกับปาเลสไตน์ยังคงประกาศจะรบกับอิสราเอลต่อไป ขณะที่อิสราเอลก็ไม่ยอมคืนดินแดนยึดครองภายใต้บรรยากาศที่ยังไม่เลิกเป็นศัตรูกัน

ด้วยเหตุนี้ การโจมตีด้วยการก่อการร้ายและการตอบโต้ก็ยังมีอยู่ต่อไป อิสราเอลกับอียิปต์ยังคงยิงปืนใหญ่ ใช้พลแม่นปืน หรือโจมตีทางอากาศต่อกันเป็นครั้งคราวต่อมาอีกหลายปี ถึงจะมีข้อตกลงหยุดยิงกันแล้ว แต่สถานการณ์ในภูมิภาคก็ยังเปราะบางมาก

อิสราเอลได้เสริมความมั่นคงในดินแดนยึดครองด้วยการขยายแนวป้องกันออกไปจนจรดพรมแดนของบรรดาประเทศอาหรับ ทั้งแหลมซีนาย เวสต์แบงก์ และที่สูงโกลัน มีป้อมค่ายแข็งแรง 

อิสราเอลยังประกาศความตั้งใจที่จะเก็บเยรูซาเล็มไว้เป็นเมืองหลวงชั่วนิรันดร์ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของตน ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองให้ชาติอาหรับ กระทั่งนำไปสู่สงครามอีกครั้งในปี 1973 

ถึงแม้สงคราม 6 วันจะจบลงแต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ใช่แต่เพียงพันธมิตรชาติอาหรับที่เข้ามาร่วมต่อสู้ แต่ยังรวมถึงชะตาชีวิตของประชาชนชาวปาเลสไตน์ ที่บทสรุปของสงคราม นำมาซึ่งความสูญเสียของตน พวกเขานี่แหละที่น่าสงสารที่สุด 

บ้านที่เคยอยู่ก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป ถ้าพวกเขายังยืนการที่จะอาศัยในเยรูซาเลม พวกเขาก็ต้องกลายเป็นดั่งพลเมืองชั้นสอง ต้องอยู่ตามกฎข้อบังคับต่างๆ ที่ชาวยิวไซออนิสต์ได้จัดตั้งขึ้นมา โดยใช้คำพูดที่ว่าเพื่อความปลอดภัยของทุกคน จากคำบอกเล่าจากผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่ได้มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างแดน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า 

การใช้ชีวิตอยู่ในฉนวนกาซาที่ปกครองด้วยยิวไซออนิสน์ ไม่ต่างจากการที่พวกเขาติดคุกเลย มันมีทั้งความกดดันและการแบ่งแยกเกี่ยวกับชาติพันธ์กันย่างชัดเจน ถึงแม้จะมียิวบางกลุ่มที่เห็นใจพวกเขาก็ตาม แต่พวกไซออนิสต์กับไม่มีความเมตตาต่อพวกเขาเลย เป็นหนึ่งในคำกล่าวอ้างของผู้ลี้ภัยในต่างแดนชาวปาเลสไตน์คนหนึ่ง อันจะเห็นได้ว่า สงครามที่เกิดขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะจบแบบไหน แต่สิ่งที่ต้องได้รับเหมือนกันเลยคือความสูญเสีย ที่ไม่อาจจะประเมินราคาได้ ก็หวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองประเทศจะคงหาคำตอบ ของการอยู่รวมกันแบบสันติวิธีได้ในที่สุด และพวกเขาควรที่จะตระหนักไว้ว่า การที่พวกเขากดดันและขมเห่งผู้คนที่แตกต่างจากพวกเขา มันก็ไม่ต่างจากสิ่งที่พวกเขาเคยได้รับมาเลยเมื่ออดีต มันเหมือนกับว่าตอนนี้พวกเขากำลังจะกลายเป็นเหมือนคนที่เคยกดขี่พวกเขา อย่างไร อย่างนั้นเลย…

สงคราม 6 วัน ย้อนรอยสงครามใหญ่ แห่งโลกอาหรับ ที่โลกต้องจดจำ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending

What's your reaction?

Excited
1
Happy
2
In Love
4
Not Sure
1
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

More in:Story

Story

เปิดประวัตินิทานของ “อีสป” ต้นตำรับนิทานคติสอนใจผู้เป็นตำนานของโลกแห่งนิทาน

นิทานของอีสปเป็นนิทานที่ถูกแต่งขึ้นโดยทาสชาวกรีกที่มีขื่อว่า อีสป (Aesop) ที่นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าเขานั้นน่าจะเกิดอยู่ในช่วง 620 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นทาสโดยกำเนิดตามกฏหมายของชาวกรีก
Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
Story

คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่ 84

ผมและไอ้แว่นได้ลงมาตั้งแถวรอเยี่ยมญาติอยู่หน้าองค์พระประจำแดน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวสำหรับพวกที่มีชื่อเยี่ยมญาติในแต่ละรอบ ผมสังเกตเห็นไอ้แว่นมันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนอยากจะถามอะไรผม แต่มันก็ยังไม่กล้าเอ่ยปากถามสักที