Breaking NewsStory

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้ เพราะว่าเจ้าท่อเก็บสารนี้ดันไปอยู่ในโรงงานเก็บของเก่าแห่งหนึ่งในปราจีนบุรี มิหนำซ้ำก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ได้ถูกทำลาย หรือแยกชิ้นส่วนกลายเป็นเศษเหล็กรีไซเคิลไปแล้วหรือยัง! ซึ่งแน่นอนว่าพอข่าวนี้ออกไปก็สร้างความตื่นตระหนกไม่ใช่น้อยต่อผู้คนจำนวนมาก และในบทความนี้เองผู้เขียนก็จะขอรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของเจ้าสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ว่าคืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน? มาให้คุณผู้อ่านได้อ่าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการตระหนักและเรียนรู้ว่าเจ้าสารนี้ส่งผลเสียต่อเราแค่ไหน..

ซีเซียม-137 คืออะไร?

ซีเซียม-137 คือ สารกัมมันตรังสีอันตรายประเภทที่ 3 ตามการจำแนกขององการณ์พลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) มีลักษณะทางกายภาพเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว และค่าครึ่งชีวิต 30 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา ส่วนมากจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือการแพทย์ในการรักษามะเร็งอีกด้วย

ความอันตรายของซีเซียม-137 

ความอันตรายของซีเซียม 137 นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณที่ผู้สัมผัสได้รับ โดยหากได้รับในปริมาณที่น้อยหรือในระยะเวลาสั้นจะยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนมากนัก แต่ถ้าหากสัมผัสเป็นเวลานาน หรือสัมผัสโดยตรงกับสารนั้น ทางด้านสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 โดยที่ได้ระบุออกมาดังนี้

อาการเมื่อสัมผัสกับสารซีเซียม-137 

1.มีไข้ เบื่ออาหาร

2. คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลว

3.ผิวหนังที่สัมผัสกับสารจะเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง และมีแผลพุพองเหมือนไฟไหม้เกิดขึ้นตรงบริเวณที่สัมผัส

4.ผมและขนตามบริเวณร่างกายหลุดร่วง และปากเปื่อย

5.เกิดต้อกระจก 

6.ทำให้เกิดมะเร็งในเม็ดดลือดขาว 

7.ระบบเลือด กดไขกระดูก และระบบประสาทผิดปกติ ก่อเกิดอาการชักเกร็ง กระตุก และส่งผลให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ซึ่งอาการที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่ถ้าได้สัมผัสกับตัวสารกัมตรังสีจะกระจายเข้าไปทั่วในร่างกายพบมากสุดจะไปสะสมอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อ และส่วนน้อยอยู่ในตับและไขกระดูก อีกทั้งในตัวซีเซียม 137 ยังมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งถ้าหากได้รับประทาน หรือทานอาหารที่ปนเปื้อนสารซีเซียม 137 เป็นระยะเวลานาน ๆ นอกจากนี้ถ้าหากสูดดมด้วยแล้วก็อาจจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้ตัวของผู้ที่สูดดมเป็นมะเร็งตรงโพรงจมูก หรือบริเวณโดยรอบได้.

และนี่เองคือความหมายของสารซีเซียม 137 ว่าเจ้าสารตัวนี้นั้นมีประโยชน์ และเหมาะกับใช้เพื่อสิ่งใด แต่ทว่าเมื่อสารตัวนี้หลุดออกไป หรือถูกคนที่ไม่มีความรู้นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองแล้ว เจ้าสารซีเซียม 137 นี้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าคนหรือสัตว์ก็ตาม เพราะฉะนั้นแล้วในอนาคตไม่ว่าเราจะไปเจอวัตถุต้องสงสัยรูปแบบไหนอีกก็ไม่ควรที่จะสัมผัส หรือเข้าไปใกล้อย่างเด็ดขาด เราควรที่จะติดต่อแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะเป็นวิธีการและขั้นตอนที่ปลอดภัยสำหรับเราและคนรอบข้างนั่นเอง…

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun

What's your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย
Breaking News

ปลดล็อกสกิน “พลังใบ” กัญชาถูกกฎหมาย

สาวกพลังใบยิ้มออกแล้ว เมื่อกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศ "ปลดล็อกกัญชา" ออกจากยาเสพติดในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่ได้รับการปลดล็อก เนื่องจากว่าสรรพคุณของกัญชาให้ประโยชน์อย่างมากมาย
Breaking News

PDPA ความสำคัญข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับเมื่อวันที่ 1  มิถุนายน 2565 มีสาระสำคัญในเรื่องใดบ้าง
Metaverse โลกใหม่แห่งอนาคต
Breaking News

Metaverse โลกใหม่แห่งอนาคต

ด้วยกระแสข่าวจาก Facebook ที่มีแผนรีแบรนด์บริษัทด้วยการเปลี่ยนชื่อใหม่ในสัปดาห์หน้า โดยมุ่งเน้นไปในเรื่อง “เมตาเวิร์ส(Metaverse)” หรือโลกดิจิทัล ที่ผู้คนสามารถโต้ตอบและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้