รับมือ “ผู้สูงอายุ”
เพื่อนๆ คนไหนมีภารกิจดูแล “ผู้สูงอายุ” กันบ้างเอ่ย เขาว่ากันว่าบ้านไหนมีผู้สูงอายุ ก็เหมือนบ้านนั้นมีเด็กเล็ก ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่เป็นในเครือญาติสนิท หรือญาติห่างๆ สุดท้ายถ้าได้อยู่ใต้ชายคาเดียวกันแล้ว เชื่อว่าไม่มีใครที่จะละเลยหน้าที่ตรงนี้ไปได้
ด้วยความที่เวลามีการเดินหน้าไปเรื่อยๆ ระบบการทำงาน และอวัยวะในร่างกาย ก็ทำงานมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เราเกิดมา จนมีอายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบการทำงาน และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายถดถอยลง โดยเฉพาะ “ผู้สูงอายุ” อีกทั้งยังมีปัญหาสุขภาพตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพทางกายหรือจิตใจ
หากกล่าวถึงผลกระทบทางจิตใจของผู้สูงอายุ นับว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาของลูกหลานหลายๆ ท่าน เนื่องจากที่ผู้สูงอายุนั้นมักจะมีอาการ “ดื้อ” อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งคำว่า ดื้อ ในที่นี้ คือการที่ผู้สูงอายุมีอาการเอาใจตัวเองค่อนข้างบ่อย หรือ อาจจะมีอาหารที่เข้าใจยากผิดปกติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดได้ในกลุ่มผู้สูงอายุทั่วๆ ไป ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้หลักๆ มีดังนี้
1. อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำ เนื่องจากในกลุ่มผู้สูงอายุมักจะมีอาการเบื่ออาหาร จึงทำให้เกิดเป็นภาวะขาดอาหาร และวิตามินบางชนิด อีกทั้งเมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์สมองน้อยลง ทำให้ขาดประสิทธิภาพเพราะเลือดไหลในเวียนสมองน้อยลง ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุนั้นมีภาวะความจำเสื่อม หลงลืม และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ รวมถึงอาจส่งผลให้ร่างกายเปิดปัญหาเฉียบพลันได้ เช่น การอักเสบติดเชื้อ หัวใจหรือสมองขาดเลือด ก็อาจเกิดอาการเพ้อ งุนงง สับสนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ผู้ดูแล หรือคนใกล้ชิดควรขยันที่จะสังเกตอาการ ว่าผู้สูงอายุที่บ้านนั้น มีอาการเบื้องต้นคล้ายกับข้อด้านบนหรือไม่ เช่น ลืมทิศทาง พูดซ้ำๆ เดิมๆ หากมีอาการดังนี้ ควรพาผู้สูงอายุเข้ารับการปรึกษากับแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษา
ถึงแม้ว่าอาการความจำเสื่อมนั้นจะไม่รักษาให้หายได้ แต่หากได้เข้ารับการรักษา และติดต่อกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถรับมือ รวมถึงช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้ อาจมีการทำกิจกรรมเพิ่มเติม เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง และประกอบกิจกรรมต่างกับคนรอบตัว หรือคนในครอบครัว เป็นต้น
2. ภาวะซึมเศร้า อาการนี้มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีอาการเรื้อรัง หรือผู้ที่ขาดความเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง อาการเช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีความสดชื่น หรือถ้าหากมีอาการรุนแรง อาจทำให้มีความคิดที่จะจากไปจากโลกใบนี้
ซึ่งการดูแลนั้นจะใช้ความรักเข้าช่วย เทคแคร์เอาใจใส่ พูดคุยปรับสารทุกข์กันบ้าง มีอาการเจ็บป่วยตรงไหนเพิ่มมากกว่าเดิมหรือไม่ เช่น กรดไหลย้อน นอนกรน ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
3. กลั้นปัสสาวะ หรือการขับถ่ายไม่ได้ อีกหนึ่งอาการในกลุ่มผู้สูงอายุนั่นก็คือ การกลั้นปัสสาวะ นั่นเอง อาการถ่ายไม่ออกทั้งหนักเบา จริงๆ แล้วคือปัญหาเหล่านี้จะเกิดได้สาเหตุ เช่น การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด ท้องผูก ต่อมลูกหมากโต และที่หนีไม่พ้นเลยคือ โรคเบาหวานนั่นเอง
ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาในเรื่องของการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะฝ่อ และอักเสบ ภาวะท้องผูก ต่อมลูกหมากโต โรคเบาหวาน และความบกพร่องในการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายที่เกิดจากสมองหรือเส้นประสาท การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยารักษาความดันบางชนิด ยาขับปัสสาวะเองทำให้ปัสสาวะมากก็อาจทำให้ปัสสาวะไม่ทันได้
ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไข หลังจากนั้นถึงค่อยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เช่นการออกกำลังกาย ฝึกการกลั้นปัสสาวะโดยปัสสาวะเป็นเวลาและค่อยๆ ยืดเวลาระหว่างการปัสสาวะ เพื่อฝึกกระเพาะปัสสาวะให้สามารถกลั้นได้มากขึ้น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าอาการที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ถึงแม้ว่าอาการที่ผู้สูงอายุของทุกคนจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ หากแต่ว่าอย่างน้อยก็ยังสามารถที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคต่างๆได้ หากเข้ารักษา และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็จะเป็นการรับมือกับผู้สูงอายุได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile