“ยา” อะไรเอ่ย ที่ควรมีติดบ้าน
สวัสดีค่ะผู้อ่านที่น่ารักทุกๆคน กลับมาอีกครั้งนะคะสำหรับ How to หรือ การแนะนำเรื่องต่างๆที่ (ผู้เขียนคิดว่า) สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำหรับวันนี้นะคะ เรามาในหัวข้อ ยา อะไรเอ่ย ที่ควรมีติดบ้าน หรือยาสามัญประจำบ้านนั่นเองค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับใครที่มีบ้าน ก็จะต้องมียาสามัญประจำบ้านอยู่แล้ว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น เช่นปัญสุขภาพ ปวดหัว ปวดท้อง หรืออุบัติเหตุต่างๆ เช่นมีดบาด หกล้ม วันนี้ผู้เขียนจึงนำรายละเอียดเกี่ยวกับยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีมาแนะนำกันค่ะ
ยาสามัญประจำบ้าน คือ ตัวยาที่กระทรวงสาธารณะสุขได้พิจารณาเอาไว้ว่าเป็นยาที่เหมาะสมที่ประชาชนควรซื้อมาไว้ประจำบ้านของตนเอง เพื่อจะแก้ไขปัญหาเบื้องต้น หรือดูแลตัวเองจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้นั่นเองค่ะ ซึ่งยาสามัญประจำบ้านนั้นเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่ต้องใช้ยาอย่างถูกต้องนะคะ เพียงเท่านี้ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายแล้วค่ะ ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่มีราคาถูก ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยา ไปจนถึงร้านขายของชำได้นะคะ โดยยาสามัญประจำบ้านที่ถูกระบุไว้มีทั้งหมด 53 ชนิด นำมาใช้รักษาโรคสามัญได้ทั้งหมด 16 กลุ่ม มีดังต่อไปนี้
1. กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้ ประกอบไปด้วย
- ยาเม็ดสำหรับบรรเทาอาการปวดและลดไข้ แอสไพริน
- ยาเม็ดและยาน้ำสำหรับบรรเทาอาการปวดลดไข้ พาราเซตามอล โดยยาเม็ดจะมีขนาด 500 มก. และขนาด 325 มก.
- พลาสเตอร์ช่วยบรรเทาอาการปวด
2. กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก ประกอบไปด้วย
- ยาเม็ดแก้แพ้ลดน้ำมูก คลอร์เฟนิรามีน
3. กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ ประกอบไปด้วย
- ยาน้ำแก้ไอ ยาขับเสมหะสำหรับเด็ก
- ยาแก้ไอน้ำดำ
4. กลุ่มยาดม หรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก ประกอบไปด้วย
- ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม
- ยาดมแก้วิงเวียน และแก้คัดจมูก
- ยาทาระเหย บรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง
5. กลุ่มยาแก้เมารถ เมาเรือ ประกอบไปด้วย
- ยาแก้เมารถ ยาแก้เมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท
6. กลุ่มยาสำหรับโรคปาก และลำคอ ประกอบไปด้วย
- ยากวาดคอ
- ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต
- ยาแก้ปวดฟัน
- ยาดมบรรเทาอาการระคายคอ
7. กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ประกอบไปด้วย
- ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ยาธาตุน้ำแดง
- ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามิ้นท์
- ยาขับลม
- ยาน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซเดียมไบคาร์บอเนต
- ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์
- ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา – แมกนิเซียม
8. กลุ่มยาแก้ท้องเสีย ประกอบไปด้วย
- ยาแก้ท้องเสีย ผงน้ำตาลเกลือแร่
9. กลุ่มยาระบาย ประกอบไปด้วย
- ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารหนักสำหรับเด็ก
- ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่
- ยาระบายแมกนีเซีย
- ยาระบายมะขามแขก
- ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร
10. กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้ ประกอบไปด้วย
- ยาถ่ายพยาธิตัวกลม อย่าง เบนดาโซล ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม
11. กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย ประกอบไปด้วย
- ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง
12. กลุ่มยาสำหรับโรคตา ประกอบไปด้วย
- ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์
- ยาล้างตา
13. กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง ประกอบไปด้วย
- ยารักษาหิดเหา เบนซิล เบนโซเอต
- ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน
- ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
- ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
- ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์
- ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต
14. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ประกอบไปด้วย
- ยารักษาแผลน้ำร้อนลวกฟีนอล
- ยารักษาแผลติดเชื้อซิลเวอร์ ซัลฟาไดอาซีน ครีม
15. กลุ่มยารักษาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ประกอบไปด้วย
- ยาไส่แผล ทิงเจอร์ไอโอดีน
- ยาใส่แผล ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล
- ยาใส่แผล โพวิโดน ไอโอดีน
- ยาไอโซโบรฟิล แอลกอฮอล์
- ยาเอทธิล แอลกอฮอล์
- น้ำเกลือล้างแผล
16. กลุ่มยาบำรุงร่างกาย ประกอบไปด้วย
- ยาเม็ดวิตามินบีรวม
- ยาเม็ดวิตามินซี
- ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัส ซัลเฟต
- ยาน้ำมันตับปลา ชนิดแคปซูล
- ยาน้ำมันตับปลาชนิดน้ำ
ก่อนจะใช้ยาใดๆ ก็อย่าลืมอ่านฉลากยาและเอกสารกำกับตัวยาให้เข้าใจก่อนใช้ยาทุกครั้ง จะได้ไม่เกิดความผิดพลาด อย่ากินยาเกินขนาดเด็ดขาดนะคะ หากไม่เข้าใจ หรือไม่มียาสามัญประจำบ้านที่แก้ไขปัญหาที่เกิดได้ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพต่อไปค่ะ สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากจะฝากไว้ว่าอย่าลืมดูแลสุขภาพกันให้ดีด้วยนะคะ เพราะการไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐค่ะ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile