#NoCPTPP กลับมาอีกครั้ง
#NoCPTPP กลับมาขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อีกครั้ง หลังจากที่ FTA Watch มีการเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่า รัฐบาลประชุมลับและลงนามร่วมข้อตกลง CPTPP ทำให้รองโฆษกฯ ต้องออกมายืนยันว่าไม่มีการประชุมลับ ไม่มีลงมติ เป็นการขอขยายระยะเวลาศึกษาอีก 50 วันเพียงเท่านั้น
“CPTPP” คืออะไร
CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือ ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ การลงทุน และในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกทั้งหมด11 ประเทศ ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
ข้อดี-ข้อเสียง ของ CPTPP
ข้อดี จากการที่ประเทศไทยเรามีการส่งออก-นำเข้าเป็นหนึ่งในเสาหลักเศรษฐกิจโดยมีมูลค่าสูงถึง 123% ของ GDP ทำให้ปัจจัยเกื้อหนุนของไทยจาก CPTPP นั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 เรื่องก็คือ
การส่งออก
CPTPP จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิก CPTPP โดยเฉพาะตลาดแคนาดา และเม็กซิโกที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ราว 2% เป็นสินค้าจะพวก อาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนจากต่างประเทศ
การเข้าร่วม CPTPP จะช่วยดึงดูดการลงทุนที่ต้องการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP
ความสามารถทางการแข่งขัน
CPTPP จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย จากการปรับปรุงกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ CPTPP ที่ได้ชื่อว่าเป็นความตกลงทางการค้าคุณภาพสูง
ข้อเสีย เพราะว่าเป็นการค้าเสรี นั่นหมายความว่าสินค้าบางอย่างในประเทศไทย อาจมีเจ้าของใหม่เป็นคนต่างชาติ ทำให้ต้องซื้อสินค้าที่ผลิตในบ้านแต่จ่ายเงินให้กับต่างชาติแทน อีกทั้งค่าเงินบาทของเราอ่อนกว่าหลายประเทศในสมาชิก ทำให้ความได้เปรียบเกิดขึ้นกับฝั่งต่างชาติ ทั้งๆที่การซื้อ-ขายนั้นเกิดขึ้นที่ประเทศเรา
ธุรกิจบริการ
การบริการนั้น CPTPP ใช้เงื่อนไขการเจรจาแบบ negative list หรือการระบุรายการที่ไม่เปิดเสรี หมายความว่าประเทศสมาชิกสามารถระบุหมวดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องการเปิดเสรีได้
ดังนั้นสำหรับไทยที่เป็นประเทศที่ค่อนข้างปิดในหมวดบริการ การเปิดเสรีนี้อาจทำให้ธุรกิจบริการภายในประเทศเสียประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติไป เพราะผู้ที่ได้รับประโยชน์จริงๆ นั้นก็คือเหล่านายทุน ในขณะที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างหนักไม่ว่าจะเป็น การเปิดเสรีภาคบริการ เป็นการเปิดโอกาสให้ต่างชาติจดสิทธิบัตรพันธุ์พืชไทย รวมไปถึงองค์กรเภสัชกรรมเสียสิทธิประโยชน์ในการจัดซื้อยาภาครัฐ
อุตสาหกรรมเกษตร
ประเทศไทยจะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรจากแคนาดา เช่น ปุ๋ย และถั่วเหลือง ที่จะเข้ามาตีตลาดไทยหลังการเปิดเสรีด้านการค้า นอกจากนี้ CPTPP ยังมีข้อบัญญัติให้ประเทศสมาชิกต้องเข้าร่วมในอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV (International Union for the Protection of New Varieties of Plants) ที่จะเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถนำพันธุ์พืชพื้นเมืองไทยไปทำการวิจัยเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่แล้วจดสิทธิบัตรได้
ซึ่งส่งผลเสียต่อเกษตรกรไทยโดยตรง เพราะถ้านำพันธุ์พืชใหม่นี้มาปลูกแล้ว จะไม่สามารถเก็บเมล็ดไปปลูกต่อได้เหมือนเมื่อก่อน ต้องซื้อเมล็ดใหม่เท่านั้น ทำให้ต้นทุนการเกษตรยิ่งสูงขึ้น
#NoCPTPP กลับมาติดเทรนอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก FTA Watch ได้มีการเผยแพร่เอกสารฉบับหนึ่ง อ้างว่ารัฐบาลไทยอาจลงนามเข้าร่วมข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก CPTPP ที่เคยสร้างความกังวลในวงกว้างว่าราคายาอาจสูงขึ้นและอาจทำให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกเองไม่ได้อีกต่อไป
จึงเกิดเป็นแฮชแท็ก #NoCPTPP ในทวิตเตอร์ที่ได้รับความนิยมอยู่เสมอนับตั้งแต่วันที่มีข่าว และนี่คือรายละเอียดของ CPTPP ที่พวกเรารวบรวมเอามาฝากในบทความนี้ค่ะ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending