Story

พม่าเสียกรุง ep2 ( จุดสิ้นสุดของกษัตริย์องค์สุดท้าย )

พม่าเสียกรุง ep2 ( จุดสิ้นสุดของกษัตริย์องค์สุดท้าย )

“สิ้นชาติสูญเอกราช” พม่าเสียเมืองคงจะเป็นเพราะเวรกรรม ที่เคยทำไว้กับหลายประเทศ การที่เข้าไปรุกราน ช่วงชิง เอามาเป็นเมืองขึ้นเมื่อครั้งสมัยก่อน บัดนี้เวรกรรมคงได้ตามมาทันแล้ว ค่าชดใช้มันช่างแพงมหาศาลยิ่งนัก จบสิ้นยุคสมัยอันรุ่งเรืองแต่เก่าก่อน ของพระเจ้าบุเรงนองผู้ชนะสิบทิศ ผู้ซึ่งสร้างหงสาวดีให้ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ยิ่งกว่านานาอารยประเทศอื่น ๆ จุดจบของพม่ามันช่างน่าอนาถใจยิ่งนัก กับราชวงศ์สุดท้ายคองบอง กับกษัตริย์องค์ที่ 11 องค์สุดท้ายของพม่า และนี่คือตอนจบของพม่าเสียเมืองครับ

(กินหวุ้นมินจี เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่พม่าเสียเมือง)

ถ้าจะไม่พูดถึงบุคคลคนนี้เลย ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ บุคคลผู้นี้ก็มีส่วนในหลายเรื่อง ทั้งทำคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดิน และก็เป็นคนที่ทำให้พม่าต้องเสียเมืองอีกเช่นกัน นั่นก็คือเสนาบดีเฒ่าชั้นผู้ใหญ่นามว่า กินวุ้นมินจี ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของพม่าในตอนนั้น ผู้ซึ่งแต่ก่อนนั้นยืนอยู่เคียงข้างกาย พระเจ้ามินดง เป็นที่ปรึกษาและคอยให้คำชี้แนะ พระเจ้ามินดง และ ก็เป็นหนึ่งในเอกอัครราชทูต ที่ร่วมเดินทางไปอังกฤษ เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรี แต่อังกฤษก็ไม่ได้ให้การตอบรับเท่าที่ควร 

ในเวลาต่อมา กินหวุ้นมินจี จึงกลับไปให้ความสนับสนุนร่วมมือกับพระนางอเลนันดอ จึงทำให้พระนางนั้น มีอำนาจในการบริหารจัดการบ้านเมือง แทนที่มเหสีอย่างพระนางพญาชเวคยี ในตอนที่พระเจ้ามินดงประชวรหนัก และยังคอยให้คำปรึกษาพระนางอเลนันดอ 

การที่จะแต่งตั้งให้ พระเจ้าธีบอ เป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้ามินดงต่อไป เพราะว่ากินวุ้นมินจีเสนาบดีเฒ่า เห็นว่าพระเจ้าธีบอนั้นหัวอ่อน เหมาะสมกับการเป็นหุ่นเชิดให้กับพระนางอเลนันดอ และตนเองยังเป็นคนยอมรับ และเห็นด้วยที่จะแต่งตั้งให้ลูกสาวทั้งสองคน ของพระนางอเลนันดอขึ้นเป็นพระมเหสี ของพระเจ้าธีบออีกด้วย จึงทำให้เสียงส่วนใหญ่คล้อยตามเสนาบดีอย่างกินหวุ้นมินจีไปโดยปริยาย 

แต่แล้วกินวุ้นมินจีก็ประเมินความสามารถของพระนางศุภยาลัตต่ำจนเกินไป เพราะกินหวุ้นมินจีก็ไม่เคยคาดคิด เลยว่าพระนางศุภยาลัตจะมีความสามารถควบคุม พระเจ้าธีบอ ได้ถึงขนาดนี้ และไม่ว่ากินวุ้นมินจีคิดที่จะทำการอันใดก็ตามแต่ แผนการที่ได้เตรียมไว้นั้นส่วนใหญ่ก็จะถูกพระนางศุภยาลัตรู้ทัน และเข้าขัดขวางโดยตลอด จนถึงขนาดที่กินหวุ้นมินจี ยอมรับในความเฉลียวฉลาด ในตัวของพระนางศุภยาลัตเป็นอย่างมาก 

ภายหลังก็ได้ถูก พระนางศุภยาลัตลดทอนอำนาจของตนเองลงไป ในเวลาไม่นานก็โดนปลดออกจากการเป็นเสนาบดี ให้เป็นคนธรรมดาสามัญชนต่อไป 

อีกอย่าง…ผู้เขียนอยากจะบอกไว้ก่อนเลยว่า พม่ากับอังกฤษในตอนนั้น ก็ไม่ได้เป็นมิตรที่แท้จริงแต่อย่างใด ต่างคนก็ต่างรอเวลา ที่จะเปิดศึกสงครามกันอีกครั้ง ซึ่งพม่าก็รู้ดีว่าตนไม่สามารถจะสู้อังกฤษได้เลย ก็เลยคิดหันไปผูกไมตรีกับฝรั่งเศส ด้วยการเจรจาขอซื้ออาวุธจากฝรั่งเศส และหวังจะพึ่งให้ฝรั่งเศสมาช่วยเหลือตน และคอยถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษในเวลานั้น แต่จนแล้วจนรอดฝรั่งเศสเองก็ไม่มีทีท่าที่คิดจะจริงจังกับพม่าเลย 

ส่วนอังกฤษเองนั้นก็รอเวลา ที่จะหาเรื่องพม่า เพื่อเป็นข้ออ้างนำไปสู่ชนวนเหตุของสงครามกลับพม่าอีกครั้ง เพื่อจะให้พม่าเป็นส่วนหนึ่งในอาณานิคมของตนเอง  เหตุการณ์มันต้องย้อนไปถึงกษัตริย์องค์ก่อน ๆ ที่ได้ก่อสงครามเข้าตีอินเดียทางตอนเหนือที่อยู่ติดกับพม่าในตอนนั้น และได้ทำการยึดอินเดียมาเป็นของตนได้สำเร็จ 

ส่วนตอนนั้นเอง อินเดียก็ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ก่อนแล้ว และการที่พม่าทำอย่างนั้น มันก็เลยเป็นชนวนเหตุทำให้เกิดสงครามอังกฤษกับพม่าในที่สุด แต่การสู้รบหายืดเยื้อไม่ เพราะด้วยอาวุธที่ทันสมัยมากกว่าพม่า จึงทำให้สงครามครั้งที่ 1 อังกฤษเป็นฝ่ายชนะไปได้อย่างง่ายดาย แลtพม่าต้องทำตามข้อเรียกร้องของอังกฤษ จึงทำให้ต้องเสียเมืองไปหลายเมือง 

ต่อมาในสงครามครั้งที่ 2 พม่าก็ต้องเสียเมืองทางตอนใต้ทั้งหมดให้กับประเทศอังกฤษ ก็จะมี ย่างกุ้ง ยะไข่ ที่เป็นเมืองสำคัญ จึงทำให้อังกฤษมีความคิดที่จะบุกเข้ายึดมัณฑะเลย์ในเมืองทางเหนือให้รวมเป็นอาณาจักร ของ south east india อีกด้วย 

ส่วนสงครามครั้งที่ 3 ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นในตอนนั้นพระเจ้ามินดงทรงตะหนักดี ถึงหายานะที่กำลังจะเกิดอยู่เบื้องหน้า ก็ได้ทรงพยายามทำทุกวิถีทาง ทั้งการเจรจาทางการทูต อีกทั้งการที่พม่าส่งคณะทูตไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี หาพันธมิตรมาถ่วงดุลอำนาจอังกฤษในเวลานั้น แต่ดูแล้วอะไรหลายอย่างมันก็ไม่เป็นใจ แล้วดูไม่เป็นผลซักเท่าไหร่ เพราะฝรั่งเศสไม่มีทีถ้าว่าจะให้การช่วยเหลือพม่าอย่างจริงจัง ส่วนอังกฤษนั้นก็ได้เข้ามาทำธุรกิจ ผูกขาดสัมปทานป่าไม้ทั้งหมดของพม่า 

อังกฤษได้ครอบครองธุรกิจเกือบจะทั้งหมดแล้ว และเริ่มแผนการล้อมกรอบพม่าไปที่ละนิด คอยแทรกแซงพม่าไปอย่างช้า ๆ สัญญาสัมปทานป่าไม้ที่ดูจะเอาเปรียบพม่ามากยิ่งนัก และในทางกฎหมายด้วยนั้น ถ้าคนของอังกฤษได้ทำความผิดในประเทศพม่า พวกเขาเหล่านั้นจะไม่ต้องขึ้นศาลพม่า แต่จะขึ้นศาลอังกฤษแทน แต่ถ้าคนพม่าได้ทำความผิดกับคนอังกฤษจะต้องถูกนำตัวมาขึ้นศาลอังกฤษ มันจึงดูเป็นการกดขี่ชาวพม่ายิ่งนัก จึงทำให้ผู้คนเริ่มหมดความศรัทธาในตัวของกษัตริย์เข้าไปทุกที และเวลาที่อังกฤษรอคอยนั้นก็ใกล้เข้ามาถึงแล้ว..

ส่วนเรื่องความเหี้ยมโหด ของพระนางศุภยาลัต ก็ยังไม่หมดแค่นั้น แม้กระทั่งน้องสาวแท้ๆ ของตัวเองก็ไม่มีละเว้น กินหวุ้นมินจีและพระนางอเลนันดอ ผู้เป็นมารดา ก็มีความเห็นที่ตรงกันว่า พระนางสุภาวจี ผู้เป็นพี่นั้นคงไม่อาจจะเข้ามามีบทบาทเหนือพระนางศุภยาลัตได้ ก็เลยได้ทำการแต่งตั้งน้องสาวคนเล็กคือพระนางศุภยาเล เป็นมเหสีองค์ที่ 3 ของพระเจ้าธีบอ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ 2 คนได้ทำนั้นมันไม่เป็นผลเลย นางศุภยาเล ก็ดูไม่ต่างกันกับพระนางสุภาวจีผู้เป็นพี่เลย โดนกีดกันในทุกทาง 

แม้แต่จะได้เข้าเรือนหอสักครั้งเดียวก็ยังไม่เคย และความที่เป็นคนขี้หึง ของพระนางศุภยาลัตนั้น ถ้าเกิดพระเจ้าธีบอรู้สึกสนใจผู้หญิงคนไหนก็ตาม ถ้าพระนางศุภยาลัตรู้ ก็จะทรงจัดการ ไม่โดนกล่าวโทษก็โดนจับ ไม่ก็หายสาบสูญ หรือไม่ก็จะถูกขับออกจากวังโดยทันที  

ในที่สุดห่วงทองคล้องใจ ที่จะทำให้อำนาจของพระนางอยู่กับนางโดยสมบูรณ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยที่พระนางศุภยาลัต หวังว่าบุตรคนแรกของนางจะเป็นผู้ชาย แต่แล้วมันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ลูกคนแรกของพระนางเป็นองค์หญิงตัวน้อย มันอาจเป็นเหมือนคำสาปแช่งที่จะให้ราชวงศ์คองบอง ที่พระเจ้าอลองพญาได้สร้างขึ้นมาถึงการดับสูญ บุตรทั้ง 4 คนของพระนางศุภยาลัต ล้วนแต่เป็นผู้หญิงทั้งสิ้น 3 คนแรกได้ถือกำเนิดขึ้น ในตอนก่อนที่พม่าจะเสียเมือง ส่วนลูกคนสุดท้องนั้นพระนางศุภยาลัตกำลังอุ้มท้องอยู่ 

ถึงแม้ว่าการที่ลูกทั้ง 4 คนของพระนางศุภยาลัตจะไม่ใช่ผู้ชาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้อำนาจของพระนางลดลงแต่อย่างใด กับดูเหมือรมันจะยิ่งมากขึ้นด้วยซ้ำ ถึงแม้พระนางอเลนันดอ กับ กินหวุ้นมินจี จะยกเอาเหตุผลว่าที่พระนางศุภยาลัตไม่สามารถให้กำเนิดบุตรชายได้ มาเป็นข้ออ้างที่จะให้พระเจ้าธีบอมีพระสนมเพิ่ม มันก็ดูไม่เป็นผลแต่อย่างใด พระเจ้าธีบอทรงเกรงใจพระนางศุภยาลัตอย่างมาก ในยามที่นางโมโหร้ายนั้น ยังถึงขนาดที่นางเข้าไปทำร้าย ตัวพระเจ้าธีบอเองเลยด้วยซ้ำ 

ในที่สุด พระเจ้าธีบอก็มีแค่เพียงพระนางศุภยาลัตเท่านั้น “บทจะดีก็ดีใจหาย” บทจะร้ายก็ร้ายน่าเหลือเชื่อ นี่คือบุคลิคของพระนางที่ผู้เขียนอยากให้เข้าใจง่าย ๆ

        ( บุตรตรีทั้ง4คนของพระนางศุภยาลัต)

จากซ้ายได้แก่พระราชธิดาองค์ที่ 4 เจ้าหญิงเมียะพยากเล , พระราชธิดาองค์ที่ 1 เมียะพยาจี , พระราชธิดาองค์ที่ 3 เมียะพยา , พระราชธิดาองค์ที่ 2 เมียะพยาลัต เจ้าหญิงทุกองค์ล้วนถูกเนรเทศไปอยู่ประเทศอินเดียด้วยทั้งหมด

ชนวนเหตุสงครามครั้งที่ 3 ที่ทำให้ประเทศพม่าต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สืบเนื่องมาจากการขอขึ้นภาษี ในสัญญาฉบับใหม่ของสัมปทานป่าไม้ ที่อังกฤษได้ครอบครองทั้งหมด จึงทำให้ประเทศอังกฤษไม่พอใจในสัญญาฉบับใหม่เป็นอย่างมาก หรือ การที่ประเทศพม่าเริ่มเปิดการเจรจาการค้าและอาวุธกับประเทศฝรั่งเศส พม่าเริ่มเอนเอียงไปพึ่งฝรั่งเศส อังกฤษนั้นรู้ถึงจุดประสงค์ของพม่าในข้อนี้ดี จึงได้ส่งทูตไปเจรจากับพระเจ้าธีบอถึงกรุงมันธะเลย์ การหารือในครั้งนั้นดูจะไม่เป็นผลดีเท่าที่ควร 

เรื่องราวมันก็แค่การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์นั้น ต้องทำการถอดรองเท้าและคลานเข่าเข้าไป ซึ่งคนยุโรปเชื่อกันว่าการถอดรองเท้า มันคือการไม่ให้เกียรติกันอย่างร้ายแรง ซึ่งอังกฤษถือว่าทูตที่ส่งไปเจรจาคือตัวแทนของราชินีอังกฤษ และการที่พม่าสั่งให้ทำเช่นนี้ มันดูเป็นการดูถูกเป็นอย่างมาก

เหตุการณ์มันดูเหมือนจะดีขึ้น เมื่อพระเจ้าธีบอจะส่งอนุโลมให้ทูตประเทศอังกฤษนั้นไม่ต้องถอดรองเท้าเข้าเฝ้าแต่อย่างใด แต่ก็ได้ถูกพระนางศุภยาลัต ห้ามปรามเอาไว้ เพราะมันจะดูเป็นการเสื่อมพระเกียรติในตัวพระองค์ และได้บอกกับทูตจากอังกฤษไปว่าถ้าไม่ทำตามที่เราร้องขอจะไม่มีการเจรจาใด ๆ เกิดขึ้น 

ด้วยความหยิ่งผยอง ลำพองในตนเอง ของพระนางศุภยาลัต สร้างความไม่พอใจให้กับคณะทูตของอังกฤษเป็นอย่างมาก จึงเป็นการนำไปสู่สงครามในเวลาต่อมา ด้วยในขณะนั้นในตัวพระนางศุภยาลัต มั่นใจเสมอว่าฝรั่งเศสจะยืนมือเข้ามาช่วยรบต่อกรกับประเทศอังกฤษ จึงได้ทำตัวแข็งก้าวเช่นนี้ และไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากเสนาบดีเฒ่า อย่างกังวุ้นมินจีแต่อย่างใด แต่กลับกัน กลายเป็นว่าพระนางได้ทำการสั่งปลด กังวุ้นมินจีออกจากตำแหน่ง และได้ทำการยึดทรัพย์สินทั้งหมด 

โดยพระนางศุภยาลัตกล่าวหาว่า กังวุ้นมินจี ทำตัวเป็นกบฏฝักใฝ่กับประเทศอังกฤษ สร้างความอับอายและเจ็บแค้นใจให้กับกังวุ้นมินจีเป็นอย่างมาก และการตัดสินใจของพระนางศุภยาลัตในครั้งนี้นั้น ถือว่าตัดสินใจผิดผลาดอย่าง มากเลยทีเดียว ถึงแม้ว่ากังวุ้นมินจีจะร่วมมือกับพระนางอเลนันดอ ในการแต่งตั้งพระเจ้าธีบอขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้ามินดงก็ตาม 

แต่ตัวของกังวุ้นมินจีนั้น ไม่เคยคิดคตทรยศต่อประเทศชาติตัวเองเลย และการที่พม่าต้องขาดมันสมองอย่างเสือเฒ่าคนนี้ไปสัก 1 คน ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ มันก็มากพอแล้วที่จะถึงคราวสิ้นสุดของประเทศพม่า 

ในเมื่อพระนางศุภยาลัตคิดว่าได้ขจัดเสี้ยนหนามคนสำคัญอย่างกังวุ้นมินจี คนที่คอยขัดแข้งขัดขาพระนาง ในเกือบจะทุกเรื่องไปแล้วนั้น คราวนี้ก็คงไม่มีผู้ใดกล้าทักท้วงหรือกล้าแข็งข้อกับพระนางอีก เลยทำให้ความหยิ่งยโสของพระนางศุภยาลัตเพิ่มมากขึ้นทุกที และการที่พม่าไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม ประเทศอังกฤษ รวมถึงยังแสดงท่าทีที่เปิดเผยกับประเทศฝรั่งเศสอย่างเห็นได้ชัด มันจึงทำให้ในไม่ช้า ศึกสงครามครั้งที่ 3 ก็ระเบิดขึ้น

เช้าวันที่ 7พฤศจิกายน พ.ศ 2428 อังกฤษนำโดยนายพล แฮรรี่ เพรนเดอร์แกสต์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือรบของอังกฤษทั้ง 3 ลำ ได้ทำการเคลื่อนทัพออกจากย่างกุ้ง ไปยังพม่าตอนเหนือ และ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พม่าได้เตรียมการรบกับอังกฤษโดยการใช้แผนตั้งรับ โดยมีเหล่ธินอัตวินหม่องเป็นผู้บัญชาการรบของพม่า และพม่าได้ทำการพยายามปิดแม่น้ำอิรวดีที่นยองบินหมอว์ใกล้กับชายแดนพม่าตอนล่าง 

แต่ก็ไม่ทันกาลกองทัพอังกฤษเคลื่อนผ่านมาตามแม่น้ำ โดยมีการต่อต้านจากพม่าน้อยมาก เพราะด้วยแสนยานุภาพของเรือรบอังกฤษ จึงทำให้พม่ายอมแพ้ในแต่ละค่ายไล่เลียงขึ้นมา และการปะทะที่ดุเดือดที่สุดนั้น เกิดขึ้นที่ป้อมบินหลา ซึ่งอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นพระนางศุภยาลัตกับพระเจ้าธีบอได้ถูกเหล่าบรรดา เสนาธิการทหารทั้งหลาย หลอกลวงพูดคำปลด ต่างก็บอกว่ากองทัพพม่านั้นชนะกองทัพอังกฤษ เพราะทหารต่างกลัวการโดนลงโทษจากพระนางศุภยาลัต แต่เหมือนกับพระนางศุภยาลัตสังหรณ์ใจบางอย่าง 

นางจึงได้เดินอุ้มท้องคนที่ 4 ขึ้นไปดูบนเชิงเทินกำแพงเมือง แต่ทว่าสิ่งที่นางเห็นนั้นกลับทำให้นางร้องไห้ และนางได้พูดกับพระพี่เลี้ยงแค่ว่าเป็นเพราะเราคนเดียวที่ทำให้พม่าต้องเป็นเช่นนี้ แล้วก็เดินลงจากไป 

การเรียกตัวกังวุ้นมินจี ให้กลับมารับตำแหน่งเสนาบดีอีกครั้ง เพื่อให้ไปเจรจากับอังกฤษ และการเจรจาเกิดขึ้นวันที่ 26 พฤศจิกายน แต่มันก็ดูเหมือนจะช้าเกินไป อังกฤษต้องการให้พม่ายอมจำนน โดยไม่มีเงื่อนไข ทำให้เสนาบดีเฒ่าแห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ ลงนามยอมแพ้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2428

การยอมแพ้อังกฤษ ทำให้พระเจ้าธีบอและพระนางสศุภยาลัต รวมทั้งลูก ๆ ทั้ง 4 คน รวมถึงพระนางอเลนันดอ พระนางสุภาวจี และพระนางศุภยาเล มเหสีอีกสองคนของพระเจ้าธีบอ ก็ได้ถูกพาตัวลงเรือไปยังย่างกุ้ง เพื่อจะถูกเนรเทศไปประเทศอินเดียต่อไป 

แต่แล้วก็ได้เกิดการทะเลาะกันเกิดขึ้น จึงทำให้พระนางอเลนันดอกับลูกอีก 2 คนคือพระนางสุภวจีและพระนางสุภยะเล ไม่ได้ถูกเนรเทศไปอินเดียด้วย ทั้งสามถูกส่งตัวอยู่ที่เมืองยางกุ้ง ส่วนครอบครัวพระเจ้าธีบอนั้นถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย 

อีก30ปีต่อมา พระเจ้าธีบอนั้นก็ได้เสียชีวิตลงอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยที่พระศพก็ไม่ได้กลับมาที่ประเทศพม่าแต่อย่างใด ส่วนพระนางศุภยาลัตและลูก ๆ นั้นก็ได้ถูกส่งตัวกลับมาอยู่ที่ประเทศพม่าอีกครั้ง แต่ได้อยู่แค่ที่เมืองย่างกุ้ง ไม่ได้ไปอยู่ยังเมืองมัณฑะเลย์บ้านเกิดแต่อย่างใด 

ในบั่นปลายชีวิตของพระนางศุภยาลัตนั้น ช่างเรียบง่ายเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ไม่มีใครรู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริงของพระนาง ว่าพระนางนั้นคิดอะไรอยู่ ในสีหน้าที่ดูเรียบเฉยเช่นนี้ พระนางเสียชีวิตลงอย่างสงบที่เมืองย่างกุ้งนั้นเอง “สูงสุดคืนสู่สามัญ” แลนี่คือกษัตริย์องค์สุดท้ายของประเทศพม่า

#พม่าเสียกรุง ep1 (จุด..เริ่มต้นของกษัตริย์องค์สุดท้าย)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun

What's your reaction?

Excited
0
Happy
0
In Love
0
Not Sure
0
Silly
0

You may also like

Story

ประวัติวันสงกรานต์ เทศกาลประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน.

สงกรานต์เป็นเทศกาลปีใหม่ไทยแบบดั้งเดิมที่มีการเฉลิมฉลองทุกปีในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักกันในชื่อว่า Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ เพราะในวันนี้ผู้คนจะนิยมนำน้ำมาสาดใส่กันเพื่อคลายร้อนอย่างสนุกสนาน
Story

เปิดประวัติที่มาของสงครามนกอีมู สงครามสุดแปลกที่โลกนี้ต้องจดจำ

สงครามนกอีมู หรือที่เรียกว่าสงครามนกอีมูครั้งใหญ่ เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ดำเนินการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี 2475 ปฏิบัติการนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมประชากรของนกอีมู ซึ่งก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อพืชผลในภูมิภาคออสเตรเลีย
Story

เปิดประวัติที่มาของวัน “April Fool’s Day” หรือ “วันโกหก” วันสุดแสบแสนตลกของผู้คนทั่วโลก!

"วันโกหก" นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อว่าวันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลฮิลาเรียของโรมันที่จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม เพราะเทศกาลนี้ผู้คนจำนวนมากจะออกมาแต่งกายตลก ๆ พร้อมกับมีการละเล่นที่เรียกเสียงหัวเราะของผู้คน ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวันโกหกเป็นอย่างมาก และในยุคต่อมาก็ได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ

Comments are closed.

More in:Story

Story

เปิดประวัตินิทานของ “อีสป” ต้นตำรับนิทานคติสอนใจผู้เป็นตำนานของโลกแห่งนิทาน

นิทานของอีสปเป็นนิทานที่ถูกแต่งขึ้นโดยทาสชาวกรีกที่มีขื่อว่า อีสป (Aesop) ที่นักวิชาการต่างลงความเห็นว่าเขานั้นน่าจะเกิดอยู่ในช่วง 620 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นทาสโดยกำเนิดตามกฏหมายของชาวกรีก
Breaking News

ซีเซียม-137 คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน?

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวที่ถูกพูดถึงมากมาย เกี่ยวกับประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีรายงานว่าพบวัตถุดังกล่าวแล้ว แต่ที่ทำให้ทุกคนตกใจเป็นอย่างมากจากข่าวนี้
Story

คุก (อิสระภาพ ความหวัง กำลังใจ) บทที่ 84

ผมและไอ้แว่นได้ลงมาตั้งแถวรอเยี่ยมญาติอยู่หน้าองค์พระประจำแดน ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวสำหรับพวกที่มีชื่อเยี่ยมญาติในแต่ละรอบ ผมสังเกตเห็นไอ้แว่นมันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนอยากจะถามอะไรผม แต่มันก็ยังไม่กล้าเอ่ยปากถามสักที