อย่าลืม! ยื่นภาษีปี 2563 โค้งสุดท้ายของสุดท้าย “กรมสรรพากร” ได้ขยายเวลาให้ผู้มีเงินได้ “ยื่นภาษี” ปีภาษี 2563 ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือทางเว็บไซต์ของ “กรมสรรพากร” ได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้เท่านั้นค่ะ
แม้จะเหลือเวลาไม่มากนัก แต่ขออย่าเพิ่งตกใจนะคะ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ “ยื่นภาษี” ในปีนี้ เพียงรวบรวมเอกสารทางการเงินเบื้องต้น แล้วเข้าระบบการยื่นเอกสารผ่านช่องทางการ “ยื่นภาษีออนไลน์” ของกรมสรรพากรตามขั้นตอน รับรองไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด
สำหรับขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2563 (แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.91)
จากเดิมต้องยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 แต่ กรมสรรพากร ได้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรายละเอียด ดังนี้
1) ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่ “มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน” ที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
2) ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็น “เงินเดือน” โดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
ซึ่งการยื่นแบบภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ผู้ยื่นจะต้องกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในระบบ โดยมีเอกสารหรือข้อมูลที่ต้องเตรียมเบื้องต้น ดังนี้
- เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ หรือไม่อย่างไร
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ยื่นภาษีออนไลน์ ต้องใช้อะไรบ้าง
การยื่นแบบภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ผู้ยื่นจะต้องกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในระบบ โดยมีเอกสารหรือข้อมูลที่ต้องเตรียม ซึ่งยิ่งเตรียมพร้อมก่อนยื่นภาษีก็ยิ่งจะช่วยให้ยื่นภาษีได้รวดเร็ว และลดความผิดพลาดได้ด้วย โดยการยื่นภาษีออนไลน์จะต้องเตรียมเอกสารเบื้องต้น ดังนี้
– เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ หรือไม่อย่างไร
– รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
– เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ทั้งนี้ ในคำนวณภาษีตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว พบว่าได้รับเงินคืนภาษี สามารถสอบถามรายละเอียดการขอรับเงินคืนภาษี จาก “กรมสรรพากร” หมายเลข 1161
ส่วนผู้ที่มีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด และผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบรายการค่าลดหย่อนได้ด้วยตนเอง จากระบบ “My Tax Account” ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากรนะคะ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending