เฮติเดือด!! ประธานาธิบดีถูกกองกำลังติดอาวุธบุกสังหารคาบ้านพัก!!
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เวลา 1.00 ตามเวลาท้องถิ่น(ประเทศไทย เวลา12.00) เกิดเหตุการณ์กองกำลังติดอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกเข้าไปยังบ้านพักส่วนตัวของประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิส และทำการสังหารท่านลงในคืนนั้น ส่งผลให้สถานการณ์ในประเทศเฮติส่อเค้าความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางความวุ่นวายในประเทศจากสถานการณ์โรคระบาด covid-19
นายคล็อด โจเซฟ นายกรัฐมนตรีรักษาการ กล่าวว่า กลุ่มติดอาวุธได้บุกเข้าไปยังที่พักส่วนตัวของท่านประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิส และสังหารท่านลง พร้อมทั้งบอกอีกว่า กลุ่มผู้ติดอาวุธมีการตะโกนเสียงดัง ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเสปน พร้อมทั้งอ้างว่ามาจาก หน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ(DEA) ก่อนที่จะกระทำการบุกเข้าไปสังหารท่านประธานาธิบดี ส่งผลให้ท่านเสียชีวิต แต่ยังโชคดีที่ภริยาของท่านรอดจากการสังหาร แต่ก็ยังได้รับบาดเจ็บหนัก ตอนนี้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด คาดว่าไม่นานคงจะมีอาการดีขึ้น นายโจเซฟ ยังประนามการกระทำนี้ของกลุ่มติดอาวุธว่า “การกระทำที่ป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม และชั่วร้ายที่สุด”
ทางด้านนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร ได้ทวีตข้อความว่า เขารู้สึก “ตกใจและเศร้าโศกต่อการเสียชีวิตของนายโมอิส” และเรียกการลอบสังหารว่า “การกระทำที่น่ารังเกียจ”
ส่วนทางด้านประธานาธิบดี โจไบเดน ของสหรัฐฯ ได้ออกมาประณามการสังหารในครั้งนี้ว่าเป็น “อาชญากรรมสะเทือนขวัญ”
ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศใกล้เคียงกับเฮติ ได้ออกมาประกาศปิดพรมแดนที่ติดต่อกับเฮติทั้งหมด อีกทั้งยังกำชับให้กองกำลังควบคุมพื้นที่ กันการหลบหนี หรือ ผู้อพยพเข้ามา เพราะสถานการณ์ในเฮติกำลังเข้าใกล้วิกฤต อีกทั้งเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส covid-19 ที่กำลังระบาดอย่างหนักในเฮติขณะนี้
สาเหตุปมการสังหารและความขัดแย้งในเฮติ
สาเหตุปมการสังหาร ส่วนหนึ่งมาจากความไม่พอใจที่รัฐบาล บริหารงานล้มเหลว ไม่สามารถแก้ปัญหาความอดอยากที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เสถียรภาพในประเทศถดถอยลง และยังมีข่าวลือ การอภิปรายการไม่ไว้วางใจรัฐบาล จากฝ่ายค้าน ว่า นายโฌเวแนล โมอิส ประธานาธิบดีเฮติ โกงการเลือกตั้งและคอรัปชั่น ส่งผลให้เกิดการประท้วงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ จนนำไปสู่การปราบปรามผู้ชุมนุมที่รุนแรง ในต้นปีที่ผ่านมานี้
นายโฌเวแนล โมอิส ในวัย 53 ปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเฮติ ในปีค.ศ. 2017
ช่วงที่เขารับตำแหน่งเต็มไปด้วยอุปสรรค มากมาย เพราะเขาเผชิญข้อกล่าวหาทุจริตหลายข้อหา และมีการประท้วงขนาดใหญ่ในกรุงปอร์โตแปรงซ์และเมืองอื่น ๆ ในปีนี้หลายครั้ง
ฝ่ายค้านของเฮติ ระบุว่า ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ของนายโมอิส ยุติลงแล้วเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2021 ซึ่งเป็นเวลา 5 ปี นับจากนายมิเชล มาร์เทลลี ประธานาธิบดีคนก่อนหน้าก้าวลงจากตำแหน่ง
แต่มีการจัดเลือกตั้งล่าช้าไป 1 ปี หลังจากนั้น และนายโมอิส ยืนกรานว่า เขายังต้องทำหน้าที่ต่อไปอีก 1 ปี เพราะเขาขึ้นรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2017
การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาควรจะมีการจัดขึ้นในปีที่แล้ว แต่มีข้อพิพาทหลายอย่างทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป ทำให้นายโมอิสต้องปกครองประเทศต่อไปอีก
ในเดือน ก.พ. ปีนี้ ในวันที่ฝ่ายค้านต้องการให้เขาออกจากตำแหน่ง นายโมอิส กล่าวว่า เขาไม่ได้ทำอะไรผิด และจะดำรงตำแหน่งต่อจนกว่าจะหมดวาระ อีกทั้งยังกล่าวอ้างว่า ในช่วงที่ผ่านมาเขาได้สืบ จนสามารถสกัดแผนการณ์โค่นล้มรัฐบาล รวมทั้งการสังหารเขาไว้ได้หลายครั้ง
ในเวลาต่อมา นายโมอิส ประธานาธิบดีของเฮติ ได้ประกาศกฏบังคับใช้ นำไปสู่การจับกุมผู้นำระดับสูงฝ่ายค้านของรัฐบาลไปหลายคน ในข้อหาสมคบคิดกันโค่นล้มรัฐบาล และลอบสังหารเขา ทำให้เวลาต่อมา การประท้วงในหลายพื้นที่ได้เกิดขึ้น
ฟางเส้นสุดท้ายที่ประชาชนชาวเฮติ ไม่ทนแล้ว มาจากเหตุการณ์กล่าวหาเจ้าหน้าที่และอดีตรัฐมนตรีหลายคน ว่ายักยอกเงินทุนเพื่อการพัฒนามูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่กู้มาจากเวเนซุเอลานับตั้งแต่ปี 2554 ทำให้โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องหยุดชะงัก เอกสารยังกล่าวหานายโมอิสว่ามีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติหลายอย่าง
การเปิดเผยเรื่องนี้สร้างความไม่พอใจไปทั่วประเทศ กลุ่มฝ่ายค้านเรียกร้องให้ประชาชนออกมาประท้วง ซึ่งมีผู้ชุมนุมหลายพันคนออกมารวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เพื่อทวงถามว่า เงินที่ควรถูกนำมาช่วยประเทศนั้นตอนนี้อยู่ที่ไหน และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโมอิสลาออกจากตำแหน่ง
ความไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง ความเป็นเผด็จการ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้เฮติ ซึ่งมีประชากร 10.2 ล้านคน เป็นหนึ่งในชาติที่ยากจนที่สุดในทวีปอเมริกา
มาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่เลวร้ายลง ทำให้คนเกือบ 60% ของประเทศมีชีวิตอยู่ภายใต้ความยากจน อดอยาก ซ้ำร้ายอาชญากรรม การปล้น ฆ่า รวมถึงการลักพาตัวกับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
หลังจากแผ่นดินไหวในเฮติเมื่อปีค.ศ. 2010 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200,000 คน ในเหตุการณ์นี้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนัก
จนทำให้กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ จำเป็นต้องเข้ามาประจำการในเฮติในปีค.ศ. 2004 เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของประเทศ และเพิ่งถอนกำลังออกไปเมื่อปีค.ศ. 2017 หลังจากนั้นความวุ่นวายในเฮติ ก็ไม่ทีทีท่าว่าจะสงบสุขได้อีกเลย กับทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ยิ่งเป็นการตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารประเทศ และเป็นการย้ำเตือนการตัดสินใจที่ผิดพลาด ในการถอนกำลังออกไปของกองกำลังรักษาสันติภาพ ของสหประชาชาติ ที่ตัดสินใจถอนกำลังออกไป ก่อนที่เฮติจะกับมาสงบเหมือนเดิม
ปัจจุบัน หลังจากการเสียชีวิตของประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิส ทางรัฐบาลเฮติ ได้ออกคำสั่งประกาศกฎอัยการศึก และเริ่มมาตราคำสั่ง ” สถานการณ์ปิดล้อม” (state of siege) ซึ่งเป็นขั้นที่ 2 จาก 3 ระดับในระบบภาวะฉุกเฉินของเฮติ หมายถึงให้ปิดพรมแดนทั้งหมด รวมทั้งประกาศใช้กฎอัยการศึกชั่วคราว มอบอำนาจให้ทหารและตำรวจแห่งชาติ บังคบใช้กฎหมายได้ทันที และสามารถจับกุมผู้กระทำผิด หรือ ผู้ต้องสงสัย นำมาทำการสืบสวน สอบสวน ได้ทันที โดยไม่มีข้อยกเว้น
จึงทำให้เวลานี้ สถานการณ์ในเฮติ ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ทั้งความล้มเหลวทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจที่พังทลาย ความอดอยากที่นับวันทวีความรุนแรง จนยูนิเซฟได้ออกมาเตือนว่า ในเวลาไม่นาน ประเทศเฮติ รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา จะมีเด็กที่ขาดสารอาหารมากกว่าเดิมถึงสองเท่า ของยอดปีก่อน ซ้ำร้ายด้วยการระบาดของไวรัส covid-19 ยิ่งเหมือนเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้ระบบต่าง ๆ พังทลายลงได้ไวขึ้น เพราะประเทศเฮติเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังไม่เริ่มจัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับคนในประเทศเลย
ประเทศเฮติในเวลานี้จึงเปรียบได้กับ เรือน้อยที่อยู่ท่ามกลางพายุใหญ่ ที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดยั้ง พวกเขาจึงต้องใช้ความพยายาม อดทนเป็นอย่างมาก และสู้เข้ากับปัญหาจนกว่าที่จะพบกับแสงสว่าง…
ข้อมูลเพิ่มเติม ประเทศเฮติ
ประเทศเฮติ เป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลากอนาฟว์, ลาตอร์ตูว์, เลแกมิต, อีลาวัช, ลากร็องด์แก และนาวัส โดยประเทศเฮติมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร (10,714 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือปอร์โตแปรงซ์
มีประชากรในประเทศทั้งหมด 10.2ล้านคน
ภาษาที่ใช้ คลีโอล(ภาษาถิ่น)และภาษาฝรั่งเศส
สกุลเงินที่ใช้คือ กูร์ดเฮติ
ปกครองด้วยระบบ ประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
แต่เดิมประเทศเฮติ ถือเป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส พลเมืองแต่ก่อนจึงสามารถอ่าน เขียนภาษาฝรั่งเศสได้ ประเทศเฮติถือว่าเป็นประเทศแรกในทะเลแคริบเบียนที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสก่อนเป็นประเทศแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และในการรับรองการเป็นเอกราชจากฝรั่งเศส จำเป็นต้องชำระหนี้สินเอกราชแก่ฝรั่งเศสเสียก่อน
ต่อมาในปีค.ศ. 1947 ประเทศเฮติก็สามารถชดใช้ หนี้เอกราชได้ทั้งหมด และถือว่าเฮติเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จนกระทั่งได้เกิดเหตุการไม่สงบในประเทศ รวมถึงการยึดอำนาจจากทหารอยู่หลายครั้ง จึงทำให้เสถียรภาพในประเทศตกต่ำลง ซ้ำร้ายยังมาเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในปี2010 ที่ถือว่ารุนแรงมากที่สุดในรอบ 200 ปี โดยวัดการสั่นไหวได้มากถึง 7.8 ริตเตอร์ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในประเทศเฮติ ส่งผลให้ทุกอย่างในเฮติ แทบจะล้มสลาย
ปัจจุบันประเทศเฮติ ถือว่าเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในแถบทะเลแคริบเบี้ยน ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องให้การช่วยเหลือ ประเทศเฮติเองยังเรียกร้องขอเงินที่ชดใช้ค่าเอกราชคืนจากฝรั่งเศส โดยให้เหตุผลว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่สมควรจ่ายเสียทีแรก เพราะประเทศอื่นในนิคมฝรั่งเศสมีอยู่ไม่น้อยเลยที่ไม่ได้เสีย ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของเฮติกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากประเทศฝรั่งเศสอยู่ และท่าได้รับการคืน เฮติก็จะมีเงินไว้ต่อลมหายใจให้กับประเทศต่อไปอีกซักระยะหนึ่งได้ จึงเปรียบได้กับความหวังเล็ก ๆ ของประเทศเฮติ…
เฮติเดือด!! ประธานาธิบดีถูกกองกำลังติดอาวุธบุกสังหารคาบ้านพัก!!
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ QuotesAboutSmile และ Keywordsfun