วัคซีนแห่งความหวัง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ วัคซีน ป้องกันโควิด-19 มาดูกันว่าประสิทธิภาพของแต่ละยี่ห้อจะมีความแตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน (ข้อมูลเดือนเมษายน 2564)
วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพ 95%
วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นามีประสิทธิภาพ 94.1%
วัคซีนโควิด-19 ของสปุตนิก 5 มีประสิทธิภาพ 91.6%
วัคซีนโควิด-19 ของโนวาแวก มีประสิทธิภาพ 89.3%
วัคซีนโควิด-19 ของจอหน์สันแอนด์จอห์นสัน มีประสิทธิภาพ 72%
วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพ 66.7%
วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค มีประสิทธิภาพ 50.4%
แม้จะมีผลของประสิทธิภาพหลังการทดลองวัคซีนโควิด-19 แต่ละยี่ห้อออกมาเปรียบเทียบกันเป็นเปอร์เซ็นต์อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาเปรียบเทียบในเชิงแข่งขันได้ว่าวัคซีนยี่ห้อไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน และสิ่งเดียวที่อาจจะบอกได้ว่าวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อไหนมีประสิทธิภาพมากน้อยต่างกันนั้นคือการใช้จริงเป็นวงกว้างเท่านั้น
การทราบถึงผลการใช้วัคซีนโควิด-19 ว่ายี่ห้อไหนมีความปลอดภัย หรือมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่าจึงจำเป็นต้องลองใช้จริง ซึ่งในตอนนี้หลายประเทศเริ่มใช้วัคซีนโควิด-19 กันแล้ว จริงๆ แล้วการใช้จริงเป็นวงกว้างจะทำให้เราได้รู้ว่าวัคซีนตัวไหนใช้แล้วอาจมีปัญหาต่อร่างกาย หรือวัคซีนตัวไหนใช้แล้วอาจไม่สามารถต้านไวรัสโควิด-19 ได้ ตัวอย่างเช่นกรณีของวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ที่ตอนนี้กำลังกังวลว่ามีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ต่ำมากต่อภาวะเลือดแข็งตัว จนทำให้หลายประเทศระงับใช้วัคซีแอสตร้าเซนเนก้าไปเลย อีกกรณีที่เกิดขึ้นที่สหรัฐฯพบผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน มีอาการเลือดแข็งตัว ซึ่งทำให้สหรัฐฯระงับการใช้วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเพื่อความปลอดภัยเช่นเดียวกัน
ผลทดสอบของจริงในการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นวงกว้างจะทำให้เราเห็นว่าวัคซีนแต่ละชนิดใช้แล้วมีปัญหาต่อความปลอดภัยของร่างกายอย่างไร ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อาสาสมัครคนละกลุ่ม การฉีดวัคซีนคนละช่วงเวลา ปัจจัยเหล่านี้จึงสามารถทำให้ประสิทธิภาพของผลวัคซีนโควิด-19 เปลี่ยนไปได้ ดังนั้นการเอาตัวเลขจากผลการทดสอบมาเปรียบเทียบจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม
ด้านนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้แจ้งว่าทางการควบคุมโรคมีการวางแผนฉีดวัคซีนแต่ขึ้นอยู่กับจำนวนวัคซีนที่ได้รับ และกระทรวงสาธารณะสุขได้เจรจากับผู้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไว้ว่าจะได้วัคซีนช่วงต้นเดือนมิถุนายน จำนวนประมาณ 5 – 10 ล้านโดส และส่วนองค์การเภสัชกรรมกำลังจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมในช่วงเดือนพฤษภาคม อีกประมาณ 1 ล้านโดส ซึ่งทางการไม่ได้นิ่งนอนใจและมุ่งเจรจาจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนอย่างเร็วที่สุด
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการกระจายวัคซีนเพิ่มเติมได้ที่ : กำหนดการกระจายวัคซีน COVID-19 ล่าสุด
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้หากยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่ลดลง ทางผู้เขียนก็อยากจะขอให้ผู้อ่านดูแลรักษาสุขความ ความสะอาด ใส่หน้ากากอนามัย และใช้เจลอนามัยล้างมืออย่างเคร่งครัดเพื่อทางที่ดีของตัวคุณเองค่ะ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending