ประยุทธ์ลั่น “ไม่” ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ได้มีการพิจารณาล็อกดาวน์กรุงเทพ 7 วัน ถามกลับ ถ้าเจ็บแล้วไม่จบจะทำยังไง ในช่วงที่ยอดผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 กำลังพุ่งสูงขึ้น ระบบสาธารณสุขกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต
หลายคนก็มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลล็อกดาวน์เป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อลง ล่าสุด วันที่ 25 มิถุนายน 2564 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องการล็อกดาวน์พยายามทำอยู่
แต่ชีวิตทุกคนต้องเดินหน้า ครอบครัวต้องทำมาหากินให้มีกินมีใช้ ฉะนั้นเราต้องร่วมมือกัน และรัฐบาลก็ต้องพิจารณารอบคอบที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ
ตนยังไม่ยืนยันว่าจะล็อกดาวน์กรุงเทพฯ 7 วัน ถึงแม้มีข้อเสนอบอกมาว่า เจ็บแต่จบ ก็อยากถามกลับว่า ถ้าเจ็บแล้วไม่จบจะทำยังไง ขอให้ตอบคำถามด้วย และคนก็ต้องปกป้องตัวเอง อยู่ที่จิตสำนึกต่อทุกคน
นอกจากนี้ สื่อยังถามว่า ต้องใช้กฎหมายแรงขึ้นหรือไม่ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการ เรื่องนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ตอบว่า กฎหมายมีทุกตัวอยู่แล้ว แต่เมื่อวานก็มีคนมาเดินเกะกะ คิดว่าเขากลัวกฎหมายหรือไม่ ตนก็กลัวกฎหมาย
“(แก้ปัญหา) ความอดอยากปากแห้งของพี่น้องคนไทย นั่นคือสิ่งที่รัฐบาลต้องทำไปพร้อมกับการให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่นายกฯจะทำตรงนี้แล้วไม่สนใจเรื่องสุขภาพมันใช่ที่ไหน เราก็ทำอย่างนี้มาเรื่อย ๆ อยู่แล้ว” นายกกล่าว
พล.อ. ประยุทธ์ยังได้กล่าวทักทายประชาชนที่มารอรับวัคซีนพร้อมกับอวยพรให้ทุกคนปลอดภัย และเตือนว่าแม้ฉีดวัคซีนแล้วก็ยังต้องระวังตัว ผู้นำรัฐบาลยังทำสัญลักษณ์มือ 2 แบบส่งให้ประชาชน โดยชู 3 นิ้ว ในท่าบอกรัก
พลางกล่าวว่า “นี่คือไอเลิฟยู” จากนั้นได้ชู 2 นิ้วในท่า “สู้ตาย” และกล่าวว่า “นี่คือวัคซีน วิคโตรี เอาชนะให้ได้” ซึ่งมีชายไทยอีกคนตะโกนให้กำลังใจ “นายกฯ สู้ๆ” ด้วย เมื่อสื่อมวลชนถามถึงข้อเสนอของแพทย์อาวุโสบางส่วนให้ล็อกดาวน์กรุงเทพฯ 7 วัน เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ทั้งนี้การล็อกดาวน์กรุงเทพฯ 7 วันมาจากข้อเสนอของ นพ. นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นและการขาดแคลนเตียงรองรับผู้ป่วยอาการหนักในขณะนี้ต้องใช้มาตรการปิดเมือง
เพื่อเร่งจัดการปัญหาค้างคา และลดปัญหาใหม่ที่จะพอกพูนเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือต้องห้ามไม่ให้คนกรุงเทพฯ เดินทางออกต่างจังหวัดเหมือนที่เคยทำพลาดมาแล้วช่วงสงกรานต์สำหรับการระบาดในกรุงเทพฯ นั้น พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.กล่าวว่าการสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะคลัสเตอร์การติดเชื้อที่เป็นแคมป์คนงาน ตลาด สถานประกอบการและชุมชนรวมไม่ต่ำกว่า 25 แห่งที่มีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 28 วัน ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเพราะประชาชนบางส่วในพื้นที่การระบาดไม่ให้ความร่วมมือในการงดการเดินทางเคลื่อนย้ายสถานที่
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ Foong-Trending