ปวดคอ ปวดหลัง ปัญหาเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษา
สวัสดีค่ะทุกคน ในปัจจุบันนี้หลากหลายอาชีพที่จำเป็นต้องใช้เวลานั่งทำงานที่หน้าจอคอม ซึ่งต้องนั่งท่าเดิมซ้ำๆเป็นเวลานานทั้งวัน อาจจะ 8 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้หลายคนประสบกับปัญหาอาการ ปวดคอ ปวดหลัง หรือที่รู้จักกันในคำศัพท์ที่ว่า ‘ออฟฟิศซินโดรม’ นั่นเองค่ะ
อาการปวดคอ ปวดหลัง มักพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ชาวออฟฟิศคงคุ้นหูกันดีกับคำว่า ออฟฟิศซินโดรม กันเป็นอย่างดี เนื่องจากอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน เป็นจุดเริ่มต้นของโรคนี้ แต่ถึงจะรู้สาเหตุแล้วก็ตาม หลายๆคนก็ยังเลือกที่จะปล่อยไว้ คิดว่ากินยาเดี๋ยวก็ดีขึ้น ไปนวดเดี๋ยวก็หาย โดยไม่ได้คำนึงเลยว่าการละเลยอาการปวดเหล่านี้ อาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงยิ่งกว่าได้ ดังนั้นไม่ควรปล่อยอาการนี้ไว้นาน
ออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่ไม่สมดุล หรือไม่เหมาะสม จนทำให้มีอาการปวดบริเวณคอ สะบัก หรือปวดหลัง เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย สาเหตุมักเริ่มต้นมาจากกล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนใหญ่อาการปวดมักดีขึ้นภายใน 1 เดือน เมื่อหยุดการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด รับประทานยา นวด ฝังเข็ม หรือทำกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตามหากไม่มีการปรับท่าทางระหว่างการทำงาน หรือเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นจะมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมาจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้นั่นเอง
อาการปวดคอหรือปวดหลังเรื้อรัง สาเหตุมักเกิดจากโรคกระดูกสันหลังร่วมกับกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะกล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลังจะช่วยประคับประคองภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม หากมีอาการปวดนานเกิน 1 เดือน ให้ตั้งสมมติฐานว่าสาเหตุเกิดจากโรคกระดูกสันหลัง
เปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยบรรเทาได้
ยืดเส้นยืดสายให้บ่อย เพราะอาการป่วยของโรคเหล่านี้เกิดจากการอยู่ในท่าเดิมนานๆ ดังนั้นจึงควรพักทุก 1 ชั่วโมง ขณะพักควรลุกขึ้นขยับร่างกาย และยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการพักไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไปจนเกิดอาการปวด
ปรับท่าทางการนั่งให้ถูกต้อง รวมไปถึงปรับอุปกรณ์ในออฟฟิศให้เหมาะกับศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ หรือการจัดวางคอมพิวเตอร์ล้วนมีผลต่อท่านั่ง ควรปรับองศาให้พอดี ไม่รู้สึกว่าต้องยกตัวหรือโน้มตัวจนเกินไปเวลาทำงาน เวลานั่งเท้าต้องวางบนพื้นได้พอดี หากไม่ถึงควรมีที่รองเท้ามาช่วยเสริม
ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมน้อยลง แต่ไม่ควรเล่นกีฬาที่เอ็กซ์ตรีมมากจนเกินไป เพราะการบิดตัวอย่างรวดเร็วและกระทันหัน มีส่วนทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เหมือนกัน
ซึ่งไม่ใช่แค่คนทำงานออฟฟิศเท่านั้นที่เสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่คนที่ใช้งานร่างกายหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ หรือใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆต่อเนื่อง ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ด้วยกันทั้งนั้น
แนะนำให้ทุกคนหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกาย หากเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยตามบริเวณต่าง ๆ อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ และนี่คือข้อมูลทั้งหมดที่เรารวบรวมมาฝากค่ะ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ :
วิธีการหนุน “หมอนยางพารา” ที่ถูกต้อง
เทคนิคการรับมือ “รอยดำ” จากสิว
เทคนิคการ “ลดน้ำหนัก” ด้วยตัวเองง่ายๆ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile