ความกดดันในวงการบันเทิงและ K-POP
ความกดดันในวงการบันเทิงเกาหลีใต้รวมถึง KPOP ต้องบอกเลยว่าค่อนข้างจะโหดมาก และวงการนี้ได้คร่าชีวิต ดารา นักแสดง ไปหลายคนมากๆเลยค่ะ จากรายงานในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในเกาหลี ไม่ต่ำกว่า 20 คน
ราคาที่ต้องจ่ายของชื่อเสียง และความโด่งดัง
49 นาทีของการพูดคุยครั้งสุดท้ายของนักร้องหนุ่ม จงฮยอน พูดเป็นระยะว่าเขารู้สึกหมดเรี่ยวแรงและไม่มีพลัง นั่นเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะทางอารมณ์ที่หลายคนไม่ทันสังเกตจนเมื่อสายไป ที่ผ่านมานักร้องผู้ล่วงลับถ้าไม่เคยปิดบังเรื่องสภาพจิตใจของตนเองตั้งแต่ที่บอกแสงว่าเขาโดดเดี่ยวและเปราะบางแค่ไหน ผ่านบทเพลง Lonely ที่แต่งขึ้น 7 เดือนก่อนตัดสินใจลาโลกใบนี้ไป
เพื่อนคนสนิทเปิดเผยจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขาเขียนทิ้งไว้ว่าให้ได้พิสูจน์ความจริงถึงวงการอันแสนโหดร้ายว่า มันได้กลืนกินผมไปหมดแล้วและเขาไม่น่าเลือกชีวิตท่ามกลางแสงสี นั้นไม่ใช่ตัวเองสักนิด เหมือนตอกย้ำถึงความกดดันมหาศาลที่ศิลปิน Kpop ไม่อาจคันหลังจากสิ่งใดที่ศิลปินประสบภาวะโรคซึมเศร้าด้วยแล้วงานก็ยิ่งทวีคูณ
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเกิดมาด้วยสภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน มันไม่ต่างอะไรกับคนที่เกิดมาพร้อมกับเซลล์มะเร็ง เขาเหมือนคนพิการคนหนึ่งเลยก็ว่าได้เพราะเขาพิการทางสมอง ปกติสมองจะสั่งทุกอย่างในร่างกาย สั่งไปถึงจิตใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ ยังไงก็ฟุ้งซ่าน เมื่อเขาว่าง เขาจะคิดกังวลซ้ำๆ
K-POP ยิ่งสูงยิ่งหนาว ยิ่งมีชื่อเสียงมากยิ่งกดดัน
วง K-pop ที่เรารู้จักอาจจะมี 20-30 วง แต่อันที่จริงแล้วมีเกิน 100 วง นั่นหมายถึงต้องดิ้นรนมากๆ ที่จะทำให้ได้มาอยู่ในแสงไฟ วงที่เราเดบิวต์จนกระทั่งยุบวงไปแล้วเรายังไม่รู้จักเลยก็มี จริงๆแล้วในวงการเกาหลีมีความดรามาติกอยู่เป็นปกติ อย่างที่เราดูในละครหรือหนัง ก็มักจะสร้างแรงกระตุ้นเยอะๆ วงการ Kpop ก็เช่นกัน ชีวิตไอดอลเหล่านี้มักจะถูกทำให้มันเป็นดราม่า เช่น ความยากลำบาก (แต่จริงๆแล้วทุกประเทศ ไอดอลก็ยากลำบากหมดนะคะ) แต่เขาก็จะเน้นจุดนี้เป็นจุดขาย ความร้องห่มร้องไห้ ความท้อแท้
การแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตายและกฎเกณฑ์สารพัดที่ค่ายวางกรอบการมีภาพลักษณ์อันสมบูรณ์แบบไร้ที่ติเกินมนุษย์ธรรมดา เป็นความกดดันที่ไร้ทางออก เมื่อต้องเซ็นสัญญาเป็น 10 ปีกับค่าย หากอยากถอนตัวก็ต้องชดใช้เป็นเงินมหาศาล อีกทั้งยังเข้ามาควบคุมทุกตารางนิ้วของชีวิต ไม่ต่างจากสัญญาทาส
ครั้งหนึ่ง คิม เซจอง นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ชื่อดัง เคยไปสัมภาษณ์ว่าเธอ ต้องทำงานหนักมากติดต่อกัน 4 วัน และได้นอนเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้น ไม่ต่างจากคังแดเนียล สมาชิกวงวันนาวัน ที่บอกว่าสิ่งที่เขาต้องการที่สุดคือมีเวลานอนเต็มอิ่มสักวัน ความสูญเสียของวงการเคป๊อปครั้งนี้ซึ่งเป็นคลื่นระลอกใหญ่ให้หันกลับมามองการปฏิบัติของค่ายเพลงในเกาหลีใต้ถึงการทำธุรกิจและการเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของนักร้อง
ปัจจุบันจึงเริ่มมีศิลปินหลายคนออกมาพูดถึงเช่นจองอึนจีไอดอลสาววง Apink และนักแสดงรุ่นใหญ่ ปาร์ค อึนจอง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากแฟนคลับทั่วโลก และแคมเปญล่ารายชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและค่ายเพลงในเกาหลีใต้เข้ามาดูแลสภาพจิตใจของศิลปินอย่างจริงจัง
อ่านบทความเกี่ยวกับ Kpop เพิ่มเติมได้ที่ : สรุปดราม่า NCT Hollywood, นาอึน Apink ไม่ต่อสัญญา ยุบวงหรือไม่?
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Keywordsfun และ quotesaboutsmile